เมื่อเจ้าของที่ดินเสียชีวิต ทายาทรับโอนมรดกที่ดินอย่างไร

แชร์บทความนี้

การโอนมรดกที่ดิน เมื่อเจ้าของที่ดินตามโฉนดที่ดิน ไม่ว่าจะ บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือเจ้าของโฉนด น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก. หรือ น.ส. 3 ข. เสียชีวิตลง ที่ดินแปลงนั้นจะตกเป็นมรดกแก่ทายาทของผู้ตาย ตามกฎหมาย (กรณีไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้) หรือตามพินัยกรรมที่เจ้าของมรดกทำไว้ก่อนเสียชีวิต

 

ทายาท 6 ลำดับที่มีสิทธิตามกฎหมาย แบ่งลำดับสิทธิก่อนหลัง ดังต่อไปนี้

1. ผู้สืบสันดาน  

2. บิดา มารดา

3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

4. พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน

5. ปู่ ย่า ตา ยาย

6. ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับ 

 

โดยทั่วไป ผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดิน สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง โดยจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา 


หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก คือ

  • โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน 
  • หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร
  • พินัยกรรม (ถ้ามี)
  • ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย (ใบทะเบียนสมรส)
  • ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
  • กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  • ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
  • ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ 





ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป คือ

  • คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก
  • หลักฐานการตายของเจ้ามรดก
  • ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก
  • โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์


ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน

  • ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  • ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท
  • ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ 50 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีโอนมรดกระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส
  • ค่าจดทะเบียนโอนมรดก 2% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ กรณีโอนมรดกให้พี่น้อง ญาติ ลูกบุญธรรม หรือบุคคลอื่นๆ ตามพินัยกรรม  


ค่าภาษีมรดกเพิ่มเติมสำหรับการรับมรดก 100 ล้านบาทขึ้นไป

พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก เป็นภาษีที่เก็บผู้รับมรดกจากกรมสรรพกร ซึ่งหมายรวมถึง อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ห้องชุด หรือหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น พันธบัตร บัญชีเงินฝาก ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน เช่น รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ รวมทั้งทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ มูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท โดยจะเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกินจาก 100 ล้านบาทเท่านั้น (ไม่คิดรวม 100 ล้านบาทแรก) โดยจะแบ่งอัตราค่าเก็บภาษีสูงสุด 10% ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรตั้งไว้ คือ


1. ผู้รับมรดกเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก


2. ผู้รับมรดกเป็นบุพการี (พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวดและสูงขึ้นไป) หรือผู้สืบสายเลือดแท้ๆ (ลูก หลาน เหลน) จะต้องเสียภาษีมรดกในอัตราคงที่ 5%


3. ผู้รับมรดกเป็นญาติพี่น้องรวม หรือบุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับผู้ให้มรดก จะต้องเสียภาษีมรดกในอัตราคงที่ 10%




ข้อมูลจาก: กรมที่ดิน
แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

ซื้อที่ดินทำเกษตร ในวัยเกษียณ ต้องดูอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรเพื่อการดำรงชีพ การดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก หรือเพียงแค่งานอดิเรก การซื้อที่ดินเพื ... อ่านต่อ...

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง (พร้อมตัวอย่าง)

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน มีความสำคัญมาก หลังจากที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงราคาได้เรียบร้อย และอาจจะกำลังวางเ ... อ่านต่อ...

เทคนิคการถ่ายภาพอสังหาฯ ด้วยมือถือ ดึงดูดผู้ซื้อ เมื่อลงประกาศขาย

ประกาศที่มีรูปภาพสวยกว่า มักจะได้รับความสนใจจากผู้ซื้อมากกว่า ดังนั้น รูปภาพอสังหาฯ จึงมีความสำคัญอย ... อ่านต่อ...

บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝด แตกต่างกันยังไง เลือกแบบไหนดี

ผู้ที่กำลังซื้อบ้าน อาจจะสงสัยว่า บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝดแตกต่างกันยังไง และควรเลือกแบบไหนดี เมื่อซื้ ... อ่านต่อ...

คำศัพท์อสังหาฯ ที่เราควรรู้ เมื่อซื้อขายอสังหาฯ

เมื่อคุณเริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดอสังหาฯ อาจจะกำลังมองหา ซื้อคอนโด หรือ ซื้อบ้าน หลังแรกในชีวิต คุณอาจพบเ ... อ่านต่อ...