ทุ่ม 260 ล้าน สร้าง "สะพานเขียว" เชื่อมสวนลุมฯ-สวนเบญจกิติ ทางเดิน-ทางจักรยานลอยฟ้ากลางกรุง

แชร์บทความนี้

หลังจากเมื่อปี 2558 “กทม.-กรุงเทพมหานคร” โดยสำนักการโยธา ก่อสร้างเส้นทางคนเดิน-ทางจักรยานลอยฟ้าเชื่อมระหว่างสวนสาธารณะ “สวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ” หรือสะพานเขียว ระยะทาง 1.3 กม. เชื่อมพื้นที่เขตปทุมวัน-คลองเตย


แนวเริ่มจากแยกสารสินคร่อมบนคลองไผ่สิงโต พาดผ่านชุมชนซอยโปโลมีคนอาศัยอยู่ 420 ครัวเรือน ชุมชนซอยร่วมฤดี 260 ครัวเรือน และชุมชนโบสถ์มหาไถ่ 1,500 ครัวเรือน



แล้วข้ามทางด่วนเฉลิมมหานคร (ท่าเรือ-ดินแดง) ข้ามถนนดวงพิทักษ์ (ข้างโรงงานยาสูบ) ไปสิ้นสุดบริเวณสวนเบญจกิติ โดยปรับปรุงพื้นผิวทางเดิน-ทางจักรยาน ราวสเตนเลส และไฟฟ้าส่องสว่างที่สูญหาย และปรับปรุงโฉมใหม่อีกครั้งเมื่อปี 2562


ล่าสุด “สำนักการโยธา” จะของบประมาณปี 2564 จำนวน 260 ล้านบาท ปรับปรุงภูมิทัศน์เส้นทางจักรยานเชื่อมระหว่างสวนลุมพินี-สวนเบญจกิติ เพิ่มเติมอีก 300 เมตร รวมเป็นระยะทาง 1.6 กม. โดยรูปแบบและประมาณราคาจะแล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย. 2564 เมื่อได้งบฯแล้วจะใช้เวลาดำเนินการ 200 วัน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565




โดย กทม.ร่วมมือกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง Urban Design and Development Center (UddC) มาช่วยออกแบบ ตามแผนจะมีติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อความปลอดภัย บนสะพาน สร้างจุดสวนหย่อมไม้ดอกไม้ประดับตลอดเส้นทาง ไม่รวมกับต้นไม้ใหญ่ที่ให้ความร่มรื่นตามเส้นทางโครงการ


นอกจากนี้ มีจุดนั่งพักผ่อน ชมวิว และจุดแลนด์มาร์ก คือ บริเวณแยกถนนสารสิน จุดข้ามทางด่วนเฉลิมมหานคร และจุดสะพานลอยข้ามถนนรัชดาภิเษก และด้านล่างของตัวสะพานจะมีการปรับพื้นที่เดิมรกร้าง ไม่เป็นระเบียบ


จะทำความสะอาดปรับภูมิทัศน์บริเวณที่โล่งเพื่อเป็นลานกิจกรรมของชุมชน เป็นการพลิกจุดอับสู่จุดทำกิจกรรม และค้าขายอย่างเป็นระเบียบ เอาสายไฟฟ้าลงดิน พร้อมกับปรับสภาพน้ำในลำคลองให้สะอาด ไม่ส่งกลิ่นเหม็นอีกต่อไป

 

โดย กทม.คาดหวังหากการปรับปรุงแล้วเสร็จ จะสามารถเชื่อมต่อพื้นที่ย่านธุรกิจของเมือง เกิดพลวัตทางสังคมและเศรษฐกิจระดับเมือง เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ธุรกิจชุมชนสร้างพื้นที่สุขภาวะใหม่ของเมือง

รวมถึงส่งเสริมการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในทุกช่วงอายุ ส่งเสริมการเดินเท้า รูปแบบการสัญจรของคนทุกกลุ่ม เพิ่มพื้นที่สีเขียวสำหรับเชื่อมต่อและพักผ่อนหย่อนใจ ที่มีความปลอดภัย ทั้งในระดับย่านและระดับเมือง


อีกทั้งจะเป็นการสร้างความร่วมมือผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และชุมชน อันจะเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนต่อไป




ข้อมูลจาก: prachachat.net
แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

อนุญาตให้ผู้เช่าเลี้ยงสัตว์เลี้ยงดีไหม ข้อดีและข้อเสียบ้านเช่าเลี้ยงสัตว์ได้มีอะไรบ้าง

เจ้าของบ้านที่ต้องการปล่อยเช่าบ้าน คอนโด มีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการตัดสินใจ ... Continue Reading...

เที่ยวสยาม 1 วัน ทำอะไรดี? แจก 7 พิกัด กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง

แหล่งรวมผู้คน กิจกรรม ห้างร้าน และความทันสมัยของกรุงเทพฯ ย่านใจกลางเมืองต้องยกให้กับ “สยาม” ไม่ว่าคุ ... Continue Reading...

อยากย้ายไปอยู่เชียงใหม่ ทำเลไหนน่าอยู่ ที่สุด

เชียงใหม่ ถือเป็นจังหวัดที่หลาย ๆ คนหลงรัก และบางคนถึงกับต้องการย้ายจากความวุ่นวายในเมืองกรุงฯ มาสู่ ... Continue Reading...

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... Continue Reading...