เปิดหน้าดิน "อู่ตะเภา" 135 ไร่ ดึงเอกชนลงทุน "ฮับการบินอาเซียน"

แชร์บทความนี้

ในที่สุด "สนามบินอู่ตะเภา" ได้รับเลือกเป็นพื้นที่นำร่องสำหรับจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบิน หลัง "สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)" ทุ่มเม็ดเงินจำนวน 70 ล้านบาทจ้างที่ปรึกษา ศึกษาจุดที่ตั้งที่เหมาะสมจาก 8 พื้นที่ ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา นครราชสีมา เชียงราย พิษณุโลก สุราษฎร์ธานี และหาดใหญ่ จนมาลงตัวที่อู่ตะเภา พลันที่ "รัฐบาลประยุทธ์" ย้ำชัดจะพัฒนาเป็นสนามบินเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ



ก่อนหน้านี้รัฐบาลชุดก่อนเล็งปักหมุด"สนามบินนครราชสีมา" เป็นฮับศูนย์ซ่อมเครื่องบินอาเซียน พื้นที่ 4,625 ไร่ หากเทียบกับ "อู่ตะเภา" ความเหมาะสมขนาดและการพัฒนา ใช้พื้นที่ 135 ไร่ ใกล้นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกที่เป็นฐานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานอย่างนิคมอุตฯ อมตะซิตี้, ปิ่นทอง, เหมราช, บ้านค่าย และอาร์ไอแอล


"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุว่า แนวโน้ม20 ปีข้างหน้าจะมีการสั่งผลิตเครื่องบิน 12,820 ลำ สัดส่วน 36% บวกกับการเติบโตสายการบินโลว์คอสต์ของไทยปี 2557 เส้นทางระหว่างประเทศโตถึง 55% ในประเทศ 45%


โจทย์คือมูลค่าตลาดซ่อมบำรุงเครื่องบินมีมูลค่าถึง 23,200 ล้านบาท/ปี แบ่งสัดส่วน 60% ต้องบินไปซ่อมบำรุงในต่างประเทศมูลค่า 13,900 ล้านบาท ส่วนที่สามารถซ่อมบำรุงภายในประเทศมี 3 แห่ง ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง, สุวรรณภูมิ, อู่ตะเภา มูลค่า 9,300 ล้านบาท


"รัฐบาลมองเห็นว่าไทยเป็นจุดศูนย์กลางอาเซียน น่าจะได้โอกาสจากตรงนี้ จึงเร่งผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นจริง โดยจะดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือซ่อมบำรุงอากาศยาน ส่วนรูปแบบการลงทุนต้องเสนอคณะกรรมการ PPP ก่อน"


การลงทุน 3 ระยะ รวม 15,274 ล้านบาท

ระยะที่ 1 สำหรับก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 12,028 ล้านบาท ซ่อมบำรุง 3,246 ล้านบาทเป็นต้น ตั้งเป้าเปิดบริการปี 2562 ขีดความสามารถซ่อมเครื่องบินปีละ 48 ลำ

ระยะที่ 2 (2564-2566) ลงทุน 4,799 ล้านบาท ตั้งเป้าเปิดบริการปี 2567 รองรับการซ่อม 96 ลำ และ

ระยะที่ 3 (2569-2571) ลงทุน 5,096 ล้านบาท เป้าเปิดบริการปี 2572 รองรับได้ 144 ลำ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 22% ผลตอบแทนทางการเงิน 6.34% ภายใน 30 ปี ประเมินเม็ดเงินเข้ามา 240,921 ล้านบาท เริ่มคืนทุนปีที่ 16 โดยให้เอกชนดำเนินการ 30 ปี


"เป้าหมายอยากให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมอากาศยานครบวงจร หรือมหานครอากาศยาน มีศูนย์ซ่อมและผลิตหรือศูนย์ฝึกหัดนักบินให้บริการแก่ประเทศในกลุ่มอาเซียน"


โดยเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ทันตอกเข็มในปี 2559 ล่าสุดมีเอกชนแสดงความสนใจ ได้แก่ บริษัท ST Aerospace, กลุ่มบริษัท พันปี กรุ๊ป (ไทย ลาว กัมพูชา) จำกัด, กลุ่มบริษัท โฟร์วิงส์แอร์พอร์ท เซอร์วิส (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท แอร์ฟรานซ์ เคแอลเอ็ม จำกัด


ส่วนจะเกิดได้เร็วหรือช้าอยู่ที่ไทยแก้จุดอ่อนด้านการส่งเสริมการลงทุน ตรงใจเอกชนมากน้อยแค่ไหน


ข้อมูลจาก: prachachat.net

แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... Continue Reading...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... Continue Reading...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... Continue Reading...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... Continue Reading...