คมนาคมลุยรถไฟเชื่อมพังงา-สุราษฎร์ ผุดทางคู่สายใหม่ หนุนเที่ยว3จว.เร่งสรุปแก้จุดตัดสร้างแทรมภูเก็ต

แชร์บทความนี้

คมนาคมเดินหน้ารถรางไฟฟ้าภูเก็ต สรุปยกให้ รฟม.ก่อสร้าง นำร่องเชื่อมสนามบิน-ห้าแยกฉลอง สั่งแก้ปัญหาจุดตัดเสร็จ กุมภาพันธ์ ก่อนสรุปรูปแบบการเดินรถ แบบก่อสร้าง พร้อมลุยรถไฟทางคู่สายใหม่หนุนท่องเที่ยวเชื่อมสุราษฎร์ฯ-พังงา-ภูเก็ต ระยะทาง 158 กม.


นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามความคืบหน้าในการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้นำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โดยเห็นควรให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ โดยให้จัดสร้างเป็นรถรางไฟฟ้าหรือแทรม (Tram) นำร่องเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลองก่อน ระยะทาง 60 กิโลเมตร รวมจำนวน 23 สถานี โดยมีความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

นายชาติชายกล่าวว่า สำหรับรูปแบบการเดินรถนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะก่อสร้างเป็นช่องทางพิเศษเฉพาะ หรือจะใช้ช่องทางร่วมกับรถยนต์ปกติ แต่จะใช้รูปแบบไหนก็ยังมีปัญหาเรื่องของจุดตัดซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก คือ จุดตัดทางแยกรวม 39 จุด และจุดตัดทางกลับรถ 37 จุด เบื้องต้นได้มอบหมายให้ สนข. กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ไปหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาจุดตัดให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน


"รฟม.จะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการโครงการ ซึ่งเบื้องต้นจะต้องแก้ปัญหาจุดตัดทั้งหมดให้แล้วเสร็จก่อนภายใน 1 เดือน หรือเดือนกุมภาพันธ์นี้ จากนั้นจึงจะนำไปสู่การออกแบบก่อสร้าง ส่วนรูปแบบการลงทุน รฟม.จะต้องกลับไปศึกษาความเหมาะสม เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียว่าจะเปิดให้เอกชนลงทุนทั้งหมด หรือให้เอกชนเข้าร่วมทุนในรูปแบบไหน" นายชาติชายกล่าว


รายงานข่าวแจ้งว่า ผลการศึกษาเบื้องต้นของ สนข.ได้ประมาณการวงเงินลงทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยสถานีให้บริการ 23 สถานี เช่น สถานีท่านุ่น สถานีท่าอากาศยานภูเก็ต สถานีถลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร สถานีเกาะแก้ว และสถานีขนส่งผู้โดยสารภูเก็ตแห่งที่ 2 เป็นต้น


นายชาติชายกล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงโครงการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว ในเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ระยะทาง 158 กิโลเมตร ซึ่งจะพัฒนาเป็นโครงการรถไฟทางคู่ ขนาด 1 เมตร มีจำนวน 12 สถานี เริ่มต้นจากสถานีท่านุ่น ถึง สถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ ซึ่งตลอดเส้นทางดังกล่าวพบว่ามีจุดตัดรถไฟถึง 101 แห่ง เบื้องต้นวางแนวทางแก้ไขออกเป็น 3 แนวทาง คือ

  1. ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟ จำนวน 18 จุด

  2. ถนนยกระดับข้ามทางรถไฟรูปตัว U จำนวน 1 แห่ง และ

  3. ถนนลอดใต้ทางรถไฟ จำนวน 82 แห่ง

ซึ่งกระทรวงฯมอบหมายให้ ทล.และ ทช. ไปรวบรวมข้อมูลและจัดใช้แนวทางออกที่เหมาะสมมานำเสนอภายในกุมภาพันธ์ 2559 เช่นเดียวกัน


ข้อมูลจาก:prachachat.net

แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... Continue Reading...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... Continue Reading...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... Continue Reading...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... Continue Reading...