ไม่เห็น ไม่ใช่ปลอดภัย! มาดูวิธีปกป้องคนในบ้านจาก PM 2.5 เมื่อคุณภาพอากาศแย่ลง

ช่วงนี้ ค่าฝุ่น PM 2.5 กลับขึ้นมาพุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในหลากหลายพื้นที่ ทั้ง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก    


PM 2.5 คืออะไร  

Particulate Matter (PM) คือ สิ่งที่พบเจอในอากาศ รวมถึงฝุ่น เศษ เขม่า ควัน ละออง ต่างๆ โดย PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กน้อยกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและจมูกของเราก็ไม่สามารถกรองได้ ทำให้ฝุ่นละอองนี้สามารถเข้าไปยังระบบทางเดินหายใจ ปอด และอาจซึมไปถึงหลอดเลือดผ่านการสูดอากาศเหล่านี้เข้าไปได้



PM 2.5 เกิดจากอะไร  

PM 2.5 เกิดได้ทั้งจากควันจากท่อไอเสียของรถยนต์และมอเตอร์ไซต์ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้เชื้อเพลิง ปิโตรเลียมและถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า การขุดเจาะในการก่อสร้าง รวมไปถึง การสูบบุหรี่ จุดธุป เผากระดาษ จุดพลุ เป็นต้น


ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร 

ความน่ากลัวของฝุ่น PM 2.5 คือเราไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า ทำให้เราขาดการตระหนักรู้ โดยเมื่อเราสูดเอาฝุ่นควัน PM 2.5 เข้าร่างกาย เจ้าฝุ่นนี้สามารถเข้าถึงทางเดินหายใจและปอดได้ง่ายและรวดเร็ว ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ป่วยโรคหอบหืด และอาจเป็นสาเหตุให้คนปกติเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและปอด มีอาการแสบสมูก ไอ จาม มีเสมหะ หอบหืด เมื่อสะสมเป็นเวลานาน อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอดได้ 


นอกจากนี้ การสูดรับฝุ่นพิษสะสมเป็นเวลาหนึ่ง ส่งผลให้เกิดตะกอนภายในหลอดเลือด เกิดหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองตีบได้ รวมถึงความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดในสมอง 


กลุ่มเสี่ยงในภาวะคุณภาพอากาศแย่ คือ "เด็กเล็ก" ที่มีภูมิคุ้มกันโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่ ฝุ่นควันเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ทางเดินหายใจและกระแสเลือดก็ขัดขวางการเจริญเติบโต และทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ และ "หญิงมีครรภ์" ที่อาจส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนด แท้ง ฯลฯ "ผู้สูงอายุ" เมื่อภูมิคุ้มกันลงดลงอาจมีแนวโน้มต่อโรคหัวใจและหอบหืด และ "ผู้ที่มีโรคประจำตัว" เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ โรคปอด และโรคหัวใจชนิดต่างๆ จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงฝุ่นควัน


ตารางด้านล่างนี้ช่วยทำให้เราเข้าใจมากขึ้นเดี่ยวกับระดับของ PM 2.5 ที่อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของเรา และคำแนะนำที่คุณควรปฏิบัติ ตารางนี้นำมาจาก ระดับค่า PM 2.5 เทียบกับดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ Air Quality Index (AQI) โดย U.S. Environmental Protection Agency


วิธีปกป้องคนในบ้านจากคุณภาพอากาศที่แย่ 


1. ตรวจเช็คดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)  

เช็คตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูคุณภาพอากาศในแต่ละวัน องค์กรอนามัยโลก (WHO) แนะนำค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศไม่ควรเกิน 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับค่าเฉลี่ยในระยะเวลา 24 ชม. 


ค่า PM 2.5 ที่เกินกว่า 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและปอด และหากเราอยู่ในอากาศที่มีค่า PM 2.5 เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไปได้ 


2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง เมื่อมีค่าฝุ่น PM 2.5 มาก 

การออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น การวิ่ง การตีกอลฟ์ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 ขึ้นสูงเกินค่ามาตรฐาน  


3. สวมใส่หน้ากากเมื่อต้องออกไปข้างนอก

หากมีเหตุที่จำเป็นต้องเดินทาง หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรสวมใส่หน้ากากที่สามารถคัดกรองฝุ่นได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน หรือ หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า ที่ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ด้วย


4. ใช้เครื่องกรองอากาศในบ้านและอย่าลืมเปลี่ยนไส้กรอง

เครื่องกรองอากาศ ช่วยกำจัดฝุ่นละอองในห้อง และเพิ่มคุณภาพของอากาศภายในบ้านโดยรวม เราควรเลือกซื้อเครื่องกรองอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งาน ขนาดของห้อง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการใช้เครื่องกรองอากาศ และอย่าลืมปิดหน้าต่าง เพื่อกันอากาศแย่ๆ จากภายนอกไม่ให้เข้าบ้าน 


5. ลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นควัน และหมั่นทำความสะอาดบ้าน

ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนนและควรตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำเพื่อลดการเกิดควันดำ ลดการเผากระดาษ จุดธูป เผาใบไม้ รวมไปถึงทำความสะอาดบ้านโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเพื่อเช็คทำความสะอาดบ่อยๆ เป็นลดการเกิดฝุ่นในบ้าน  




แชร์บทความนี้

ลิงค์สำหรับการแบ่งปันบทความบนเว็บอื่นๆ:

คลิก Like เลยเพื่อไม่พลาดกับบทความน่าสนใจอื่นๆ

บทความยอดนิยม

บทความใหม่ล่าสุด

พาชมบ้านทาวน์โฮม ลาดพร้าว 101 เรียบหรูสไตล์ Minimalist Luxury โครงการ เมซอง 168 ลาดพร้าว 101 (Maison 168 LATPHRAO 101)

หาซื้อบ้าน ย่านลาดพร้าว ต้องไม่พลาด "โครงการ เมซอง 168 ลาดพร้าว 101" บ้านทาวน์โฮม 3.5 ชั้น Duplex จอ ... อ่านต่อ...

สิ่งที่ควรทำ ก่อนลงขายบ้านมือสอง

ก่อนที่คุณจะลงขายบ้านหรือคอนโดของคุณในตลาด สิ่งสำคัญคือ การเตรียมการขาย ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายบ้า ... อ่านต่อ...

เอกสารและค่าโอนที่ดินให้ลูก การให้ที่ดินโดยเสน่หา กรมที่ดิน ปี 2566

เจ้าของทรัพย์สินสามารถ "ให้" ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้รับโดยไม่มีค่าตอบแทนได้ เช่นพ่อแม่ให้ที่ดิ ... อ่านต่อ...

ความคืบหน้ารถไฟฟ้า 5 เส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดเดินรถเร็วสุด

การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย โดยมีโครงการรถ ... อ่านต่อ...

4 สิ่งที่คนส่วนใหญ่พลาด เมื่อตั้งราคาขายบ้าน!

ตั้งราคาขายบ้านเท่าไรดี หรือควรขายบ้านเท่าไร เป็นสิ่งที่คนขายบ้านมักต้องคิดให้ดี เพราะการตั้งราคาขาย ... อ่านต่อ...