ห้องน้ำผู้สูงอายุ ออกแบบอย่างไรปลอดภัยและใช้งานสะดวก

เมื่อสังคมของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว และในสมัยก่อน บ้านและคอนโดอาจไม่ได้ถูกออกแบบมารับรองผู้สูงอายุ ทำให้เราอาจต้องปรับเปลี่ยนห้องน้ำในบ้านให้เหมาะสมกับคนที่อาศัยอยู่ในบ้านมากขึ้นเพื่อการอยู่อาศัยที่ดี ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายภายในบ้านของเราเอง โดยเฉพาะห้องน้ำ ที่เป็นสถานที่ที่ผู้สูงวัย มักจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย 


วันนี้บ้านไฟน์เดอร์ พามาดูข้อคำนึงในการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุ สำหรับผู้ที่กำลังต้องการเปลี่ยนห้องน้ำ เราต้องพิจารณาอะไรบ้าง เพื่อความปลอดภัย และการใช้งานที่สะดวกสบายสำหรับผู้สูงวัย


1. กระเบื้องห้องน้ำกันลื่น 

การคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นเป้าหมายสำคัญในการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงที่จะหกล้มและได้รับบาดเจ็บในห้องน้ำได้ โดยเฉพาะห้องน้ำที่ไม่มีการแยกส่วนเปียกและแห้ง ดังนั้น อันดับแรกเมื่อทำห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ คือการแยกส่วนเปียก เช่น พื้นที่อาบน้ำ ออกจากพื้นที่แห้งเช่น ชักโครก อ่างล่างหน้า แยกออกจาก พื้นที่อาบน้ำ ฯลฯ 


นอกจากนี้ เนื่องจากพื้นผิวที่เปียกและลื่น เราควรเลือกใช้กระเบื้องพื้นที่มีผิวสัมผัสที่ไม่ลื่น เช่น กระเบื้องแกรนิต หรือกระเบื้องที่มีผิวหยาบ หรือเคลือบด้วยน้ำยากันลื่น หรือเทปกันลื่น รวมไปถึง ติดตั้งราวจับ และที่นั่งอาบน้ำ ที่สามารถลดความเสี่ยงของการหกล้มได้อย่างมาก และทำให้ห้องน้ำปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ พรมกันลื่นก็สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุ มีฐานที่มั่งคงและป้องกันการหกล้มในบริเวณที่เปียกชื้นในห้องน้ำได้ 



2. แสงสว่างเพียงพอ 

ทัศนวิสัยที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในห้องน้ำเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นใช้พื้นที่ได้อย่างปลอดภัย 


แสงสว่างที่เพียงพอ สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุมองเห็นข้าวของต่างๆ ในห้องน้ำได้ดีขึ้น ช่วยหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดจากการสะดุดหรือลื่นไถลได้ พิจารณาเลือกใช้หลอดไฟสีขาว ประเภท cool white หรือ daylight ที่มีค่าอุณหภูมิสีไม่น้อยกว่า 3500 เคลวิน และติดตั้งจำนวนหลอดไฟที่เพียงพอในห้องน้ำ เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดมากขึ้น 





3. ที่เก็บของที่หยิบใช้ได้ง่าย 

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวอาจรู้สึกลำบากในการเข้าถึงสิ่งของที่อยู่สูงหรือห่างไกล ติดตั้งชั้นวางหรือตู้เก็บของที่เอื้อมถึงได้ง่ายเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุ มีอิสระในการเก็บข้าวของของตนเองได้เองโดยไม่ต้องปีนเก้าอี้ไปหยิบ ลดการหกล้มจากการเอื้อมหยิบได้ 



4. เลือกหัวก๊อกน้ำแบบก้านโยก  

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้ออักเสบหรือความแข็งแรงของมือลดลง การที่จะต้องเปิดและปิดก๊อกน้ำแบบหมุนอาจทำได้ยาก โดยเฉพาะก๊อกเก่าๆ ที่ต้องออกแรงหมุน ดังนั้น เลือกใช้ก๊อกแบบก้านโยกขึ้นลง หรือปัดซ้ายขวา ก็ทำให้ใช้งานง่าย สะดวกสบายกับผู้สูงวัย 


5. ระดับความสูงของโถนั่ง ราวจับ และอ่างล้างมือ 

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวอาจมีปัญหาในการขึ้นและลงโถส้วม ซึ่งอาจนำไปสู่การหกล้มหรือการบาดเจ็บได้ ความสูงของที่นั่งชักโครกควรอยู่ที่ 43-48 ซม. เพื่อให้ง่ายต่อการลุกจากรถเข็นไปยังชักโครก ผู้สูงวัยที่มีปัญหาโรคเกี่ยวกับข้อต่อหรือหลัง ก็จะใช้งานได้สะดวกมากขึ้น  


ราวจับช่วยพยุงตัวควรติดตั้งสูงจากพื้น ประมาณ 70 ซม. เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ห้องน้ำได้อย่างปลอดภัย 



นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวอาจพบว่าการใช้อ่างล้างจานและเคาน์เตอร์สูงหรือต่ำเกินไปเป็นเรื่องท้าทาย การติดตั้งอ่างล้างหน้าและเคาน์เตอร์ในระดับความสูงที่เหมาะสมช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ห้องน้ำได้ง่ายขึ้น ความสูงของอ่างล้างมือ ไม่เกิน 85 ซม. และมีพื้นที่ว่างใต้ซิงก์ ประมาณ 68 ซม. สำหรับเข่าเมื่อนั่งรถเข็น


6. พื้นที่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนที่ 

ห้องน้ำผู้สูงอายุที่ใช้วอล์คเกอร์หรือเก้าอี้รถเข็นต้องการพื้นที่เพียงพอในการเคลื่อนที่ในห้องน้ำ โดยทั่วไป มักจะแนะนำ 

  • ความกว้างของประตูไม่ต่ำกว่า 90 ซม.  สำหรับการเข็นรถเข็นเข้าห้องน้ำ 
  • พื้นที่สำหรับตีวงรถเข็นในห้องน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 150 ซม. ให้ห้องน้ำมีพื้นที่โล่ง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าห้องน้ำได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนที่เหล่านี้



7. การระบายอากาศที่เพียงพอ 

ห้องน้ำเป็นห้องที่มีความชื้นสูง ในห้องน้ำที่มีการระบายอากาศที่ไม่ดี อาจะทำให้เกิด กลิ่นอับ และเชื้อราภายในห้องได้ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้ใช้งานโดยทั่วไป ดังนั้น การติดตั้งระบบระบายอากาศที่เหมาะสม ไม่ว่าจะ หน้าต่าง หรือพัดลมดูดอากาศ ก็สามารถช่วยลดความชื้นและทำให้ห้องน้ำเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น  




แชร์บทความนี้

ลิงค์สำหรับการแบ่งปันบทความบนเว็บอื่นๆ:

คลิก Like เลยเพื่อไม่พลาดกับบทความน่าสนใจอื่นๆ

บทความยอดนิยม

บทความใหม่ล่าสุด

พาชมบ้านทาวน์โฮม ลาดพร้าว 101 เรียบหรูสไตล์ Minimalist Luxury โครงการ เมซอง 168 ลาดพร้าว 101 (Maison 168 LATPHRAO 101)

หาซื้อบ้าน ย่านลาดพร้าว ต้องไม่พลาด "โครงการ เมซอง 168 ลาดพร้าว 101" บ้านทาวน์โฮม 3.5 ชั้น Duplex จอ ... อ่านต่อ...

สิ่งที่ควรทำ ก่อนลงขายบ้านมือสอง

ก่อนที่คุณจะลงขายบ้านหรือคอนโดของคุณในตลาด สิ่งสำคัญคือ การเตรียมการขาย ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายบ้า ... อ่านต่อ...

เอกสารและค่าโอนที่ดินให้ลูก การให้ที่ดินโดยเสน่หา กรมที่ดิน ปี 2566

เจ้าของทรัพย์สินสามารถ "ให้" ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้รับโดยไม่มีค่าตอบแทนได้ เช่นพ่อแม่ให้ที่ดิ ... อ่านต่อ...

ความคืบหน้ารถไฟฟ้า 5 เส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดเดินรถเร็วสุด

การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย โดยมีโครงการรถ ... อ่านต่อ...

4 สิ่งที่คนส่วนใหญ่พลาด เมื่อตั้งราคาขายบ้าน!

ตั้งราคาขายบ้านเท่าไรดี หรือควรขายบ้านเท่าไร เป็นสิ่งที่คนขายบ้านมักต้องคิดให้ดี เพราะการตั้งราคาขาย ... อ่านต่อ...