ยุคทอง‘ก่อสร้างไทย’อานิสงส์ประมูลโครงการรัฐบูม

แชร์บทความนี้

อุตสาหกรรมการก่อสร้าง มีมูลค่าและการจ้างงานจำนวนมาก เป็นหนึ่งในฟันเฟืองกระตุ้นเศรษฐกิจ

ลอย จุน ฮาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมนเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 5.71% ในปี 2558 เติบโต 12.19% ไตรมาสแรกปีนี้การลงทุนภาคการก่อสร้างมีมูลค่า 3.15 แสนล้าน บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของ ปีก่อน 8.32%


ขณะที่มูลค่าการลงทุนก่อสร้างของภาครัฐเพิ่มขึ้น 11.62% มาจากการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ มูลค่าลงทุนก่อสร้างของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 5.24% ถือเป็นแนวโน้มที่ดี ในปี 2558 อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยมีงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ในต่างประเทศ มีมูลค่ารวม 2.74 แสนล้านบาท ยังไม่รวมโครงการร่วมทุนและงานก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก

พลพัฒ กรรณสูต กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยจะเติบโตได้นั้น ภาครัฐ ต้องมีการจัดซื้อจัดจ้าง เชื่อว่าหลังจากนี้ภาครัฐจะออกมาขายแบบมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ ทำให้ภาคเอกชนสนใจลงทุน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สีเหลือง และสีชมพู รวมถึงโครงการสนามบิน แลงะอุโมงค์ยักษ์รองรับน้ำ เป็นต้น บริษัทมีความสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่าโครงการประมาณ 1.8-2 หมื่นล้านบาท รวมถึงโครงการภาคเอกชน หรือโรงงานไฟฟ้าของบีกริม เพาเวอร์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอราคา คาดได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

"แนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยมีแนวโน้มดีขึ้น เพราะเริ่มความชัดเจนของภาครัฐออกมาขายแบบ ภาคเอกชนเตรียมลงทุนสูงขึ้น"

รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา รองประธานคณะกรรมการวิชาการ สาขาคอนกรีต วัสดุ และการก่อสร้างสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (TCA) กล่าวว่ากรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่ประชากรเติบโตสูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชีย ทำให้ภาคการก่อสร้างขยายตัว สูงและต่อเนื่อง

ขณะที่เทรนด์ของวัสดุการก่อสร้าง เน้นความคงทนเพื่อรองรับการใช้งานระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มคอนกรีต ที่ต้องมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ในการซ่อมแซมตัวเอง หรือเป็น "กรีนคอนกรีต" ที่ลดปริมาณการใช้ซีเมนต์ เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายดูแลรักษาในส่วนนี้

จักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออิซี) เป็นโอกาสที่ดีต่อภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยที่จะขยายไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น ประกอบกับไทยมีเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ค่อนข้างสูง ติด 1 ใน 3 ของอาเซียน (สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย) ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรจะออกออกไปลงทุนในประเทศที่มีเทคโนโลยีไม่สูง

อย่างไรก็ดี ปัญหาแรงงานขาดแคลนในขณะนี้ ทำให้ช่วงที่ ผ่านมาต้องนำเข้าแรงงานต่างชาติ ขณะเดียวกัน ได้หันมาใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีทันสมัยเป็นการชดเชยมากขึ้น

"การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้สามารถลดระยะเวลาการทำงาน แต่ต้องมีการกำหนดเรื่องของมาตรฐานที่ชัดเจน ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทยเติบโตในทิศทาง ที่ดีและต่อเนื่อง"

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

แชร์บทความนี้

บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... อ่านต่อ...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... อ่านต่อ...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... อ่านต่อ...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... อ่านต่อ...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...