กทม.ทุบนายทุนปลูกกล้วย บี้เก็บภาษีที่ดินเต็มเพดาน

แชร์บทความนี้

หลังจากที่รัฐเริ่มเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เราคงเห็นที่ดินเปล่าจำนวนไม่น้อยที่เริ่มปลูกกล้วย ปลูกมะนาว เพื่อเปลี่ยนการใช้สอยบนที่ดินเป็นเกษตรกรรม เพราะหากปล่อยที่ดินรกร้าง จะมีเพดานอัตราภาษีสูง


ล่าสุด ทีมงานนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพฯ เตรียมเดินหน้าเก็บภาษีที่ดินปลูกกล้วย-มะนาวใจกลางกรุง ตีกรอบที่ดินผังเมือง 3 สี “แดง-ม่วง-เม็ดมะปราง” โซนพาณิชยกรรม โรงงาน คลังสินค้า ทำหนังสือหารือคลังออกข้อบัญญัติ กทม.เก็บภาษีเกษตรกรรมเต็มเพดาน 0.15% หรือล้านละ 1,500 บาท ดัดหลังนายทุนนำที่ดินเงินล้านมาปลูกกล้วยหวังจ่ายภาษีต่ำสุด 0.01%  


ช่องว่างภาษี 5-15 เท่า

โดยที่ผ่านมา มีการใช้  “อัตราผ่อนผัน” หรือ อัตราแนะนำในช่วงเริ่มจัดเก็บภาษีที่ดิน เพื่อบรรเทาภาระภาษีและลดแรงต้านในการบังคับใช้กฎหมาย โดยออกเป็นกฎหมายระดับพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น จึงมีช่องว่างระหว่างเพดานภาษีกับอัตราภาษีผ่อนผัน เช่น


ประเภทเกษตรกรรม มีอัตราแนะนำ 0.01-0.1% หรือจัดเก็บล้านละ 100-1,000 บาท ในขณะที่เพดานภาษีอยู่ที่ล้านละ 1,500 บาท


ประเภทที่ดินรกร้าง ว่างเปล่า ซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างมากในการทำอัตราแนะนำ กล่าวคือ เพดานภาษีจริง ๆ คือ 3% หรือ ล้านละ 30,000 บาท แต่ในการจัดเก็บให้เริ่มต้นใช้อัตราเดียวกันกับประเภทพาณิชยกรรม อยู่ที่ 1.2% หรือล้านละ 12,000 บาท จากนั้น มีอัตราแนะนำโดยให้เริ่มต้นจัดเก็บจริงอยู่ที่ 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท






กทม. เตรียมขึ้นภาษีที่ดินเกษตรกรรมในผังเมืองพาณิชยกรรม ชนเพดานภาษี 

กทม. ได้หารือกระทรวงการคลัง ซึ่งยืนยันว่า กทม. เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สามารถออกข้อบัญญัติเรียกเก็บภาษีที่ดินในอัตราชนเพดานภาษีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ ซึ่งคาดว่าจะทำให้ กทม. มีรายได้จัดเก็บภาษีที่ดินฯ เพิ่มมากขึ้นได้


โดยขณะนี้ สำนักการคลัง กทม. ได้ยกร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มอัตราภาษีที่ดินประเภทเกษตรกรรมให้มีการจัดเก็บสูงสุดตามเพดานภาษี อยู่ที่ 0.15% หรือล้านละ 1,500 บาท ในกรณีมีการนำที่ดินเปล่าในโซนผังเมือง ที่ไม่ใช่ผังเมืองสีเขียวแต่นำมาใช้ประโยชน์ประกอบการเกษตร


การเพิ่มภาษีที่ดินเกษตรกรรมดังกล่าว โฟกัสไปที่การใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมือง 3 ประเภทคือ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมหรือผังเมืองสีแดง, ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมหรือผังเมืองสีม่วง และที่ดินประเภทคลังสินค้าหรือผังเมืองสีเม็ดมะปราง



ดูจากร่างผังเมืองของ กทม. ได้จำแนกพื้นที่ดิน 10 ประเภท คือ 

  1. สีเหลือง ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย 
  2. สีส้ม ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง 
  3. สีน้ำตาล ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก 
  4. สีแดง พาณิชยกรรม 
  5. สีม่วง อุตสาหกรรม
  6. สีเม็ดมะปราง ประเภทคลังสินค้า 
  7. สีขาวทแยงเขียว อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม 
  8. สีเขียว ชนบทและเกษตรกรรม
  9. สีน้ำตาลอ่อน ที่ดินอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
  10. สีน้ำเงิน ประเภทสถานที่ราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ


โดยเมื่อสำรวจโซนสีผังเมือง พบว่ามี 5 เขตที่ผังเมืองสีแดงกินพื้นที่ 90-100% ได้แก่ เขตบางรัก, เขตปทุมวัน, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตราชเทวี และเขตสัมพันธวงศ์


สำหรับผังเมืองสีม่วงพบใน 8 เขตหลัก ได้แก่ เขตหนองจอก, เขตลาดกระบัง, เขตมีนบุรี, เขตบางบอน, เขตบางซื่อ, เขตประเวศ, เขตบางขุนเทียน และเขตคันนายาว สุดท้าย ผังเมืองสีเม็ดมะปรางพบใน 2 เขตที่เขตคลองเตยกับเขตลาดกระบัง




ข้อมูลจาก: prachachat.net
แชร์บทความนี้


热门文章


文章

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... 继续阅读......

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... 继续阅读......

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... 继续阅读......

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... 继续阅读......

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... 继续阅读......