ธปท. ปรับดอกเบี้ย 'ผิดนัดชำระหนี้' สินเชื่อบ้าน เริ่ม 1 พ.ค.นี้

แชร์บทความนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับเกณฑ์ การคิดดอกเบี้ยและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของสถาบันการเงิน ให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใสมากขึ้น เพื่อช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการต่อระบบการเงินของไทย และช่วยสถาบันการเงินได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว มีอะไรทีี่เราในฐานะผู้ใช้บริการรู้บ้างมาดูกันเลย 


1. ค่าปรับไถ่ถอนก่อนกำหนด (Prepayment charge) สำหรับสินเชื่อ SME และสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งมีลักษณะการผ่อนชำระเป็นงวด 


เดิม ผู้ประกอบการบางรายคิดค่าปรับจากฐานวงเงินสินเชื่อทั้งก้อน


ใหม่ ให้สถาบันการเงิน (สง.) คิดค่าปรับบนยอดเงินต้นคงเหลือ รวมทั้ง ให้ สง. กำหนดช่วงระยะเวลาที่จะยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับการไถ่ถอน 


เริ่มใช้ 8 มกราคม 2563 ไม่ต้องแก้สัญญากับสถาบันการเงิน ได้รับสิทธิโดยอัตโนมัติ

ตัวอย่างค่าปรับไถ่ถอนก่อนกำหนด กู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SMEs เป็นจำนวน 10 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี ชำระแล้ว 3 ล้านบาท ยอดหนี้คงเหลือ 7 ล้านบาท 


แบบเดิม ปิดหนี้ก่อนครบกำหนด ปีที่ 3 ถูกคำนวณค่าธรรมเนียมปิดหนี้ก่อนครบกำหนดจากยอดเงินกู้ 10 ล้านบาท 


เกณฑ์ใหม่ 

กรณีที่ 1 ปิดหนี้ก่อนครบกำหนด ปีที่ 3 ล้านบาท ชำระแล้ว 3 ล้านบาท ยอดหนี้คงเหลือ 7 ล้านบาท คำนวณค่าปรับจากยอดเงินต้นคงเหลือ คือ 7 ล้านบาท

กรณีที่ 2 สง. กำหนดระยะเวลายกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับไถ่ถอนก่อนกำหนด อยู่ที่ปีที่ 6-10 ถ้าเราปิดหนี้ก่อนครบกำหนด ณ ปีที่ 7 ยกเว้นค่าปรับไถ่ถอนก่อนกำหนด   



2. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อ SME และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีลักษณะการผ่อนชำระเป็นงวด


เดิม การคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะคิดบนฐานของเงินต้นคงเหลือ (รูปที่ 2)


ใหม่ ให้สถาบันการเงิน คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนค่างวด (installment) ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระ เฉพาะส่วนที่เป็นเงินต้นของค่างวดนั้น และ


ให้สถาบันการเงินกำหนดช่วงระยะเวลาการผ่อนผันไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ (grace period) ในกรณีที่ลูกหนี้อาจมีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด และให้แจงรายละเอียดของยอดหนี้ค้างชำระ เช่น ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ ให้ลูกหนี้ทราบอย่างชัดเจน


เริ่มใช้ 1 พฤษภาคม 2563

ตัวอย่างดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ กู้ซื้อบ้าน 5 ล้านบาท ผ่อน 20 ปี (ดอกเบี้ยกู้ 8% ต่อปี) คิดค่างวดเดือนละ 42,000 บาท ชำระแล้ว 24 งวด ลูกหนี้ค้างชำระงวดที่ 25 


แบบเดิม คิดดอกเบี้ยผิดนัดบนยอดเงินต้นคงเหลือ ตั้งแต่งวดที่ 25 - งวดที่ 240 รวม 4.77 ล้านบาท X ดอกเบี้ยผิดนัด (8%) X จำนวนวันล่าช้า (30 วัน) = 31,364.38 บาท  


เกณฑ์ใหม่ ลูกหนี้ค้างชำระงวดที่ 25 เป็นเงิน 42,000 บาท คิดเป็นเงินต้น 10,000 บาท และ ดอกเบี้ยเงินกู้ 32,000 บาท ให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดบนยอดเงินต้นของงวดที่ผิดชำระคือ 10,000 บาท X ดอกเบี้ยผิดนัด (8%) X จำนวนวันล่าช้า (30 วัน) = 65.75 บาท




3. ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต และ เอทีเอ็ม กรณีผู้ใช้บริการยกเลิกการใช้บัตร ออกบัตรใหม่และรหัสทดแทน

กรณียกเลิกบัตร 

เดิม ไม่มีการคืนส่วนต่างหรือคืนเมื่อร้องขอเท่านั้น 

ใหม่ คืนค่าธรรมเนียมรายปีตามสัดส่วนระยะเวลาคงเหลือของบัตร โดยไม่ต้องให้ผู้ใช้บริการร้องขอ


กรณีออกบัตรใหม่และรหัสกดทดแทน

เดิม เรียกเก็บค่าธรรมเนียมทุกกรณี 

ใหม่ ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการออกบัตรหรือรหัสบัตรทดแทน (เว้นแต่มีต้นทนสูง อาจเรียกเก็บตามความเหมาะสม)


เริ่มใช้ 8 มกราคม 2563 ได้รับสิทธิโดยอัตโนมัติ




แชร์บทความนี้


热门文章


文章

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... 继续阅读......

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... 继续阅读......

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... 继续阅读......

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... 继续阅读......

6 ฟีเจอร์ในบ้านยุคใหม่ ที่ผู้ซื้อมองหา

ความต้องการของผู้ซื้อบ้านในยุคปี 2024 นี้ ก็แตกต่างจากยุคสมัยก่อน ดังนั้น เราจึงตรงปรับฟังก์ชั่นการใ ... 继续阅读......