ธปท. ไม่ต่อเวลามาตรการ LTV-loan to value หลังครบกำหนด 31 ธ.ค.นี้

แชร์บทความนี้

ธปท.เผยไม่ต่อเวลามาตรการ LTV-loan to value หลังครบกำหนด 31 ธ.ค.นี้ ยันไม่กระทบผู้กู้รายย่อยราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท เหตุได้วงเงิน 100% คาดลดผลข้างเคียง-หนี้ครัวเรือน หลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวชัด 


ที่ผ่านมา ธปท.ได้ผ่อนคลายมาตรการ LTV-loan to value ชั่วคราว จากเดิมมีเกณฑ์ LTV หรือเกณฑ์ปล่อยกู้ได้ 70-95% จากราคาซื้อขายในสัญญา ผ่อนปรนเกณฑ์ LTV 100% ทุกราคาบ้าน จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 ซึ่งเป็นมาตรการที่นักวิเคราะห์มองว่า ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นบ้านราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท 



โดยวันที่ 31 ตุลาคม 2565 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากทิศทางเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน และทั่วถึงมากขึ้น และภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งอุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งการจ้างงานในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทยอยปรับดีขึ้น

 

ดังนั้น ธปท.จึงเห็นควรไม่ต่ออายุมาตรการ LTV หรือหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย ซึ่งจะครบกำหนดการผ่อนคลายชั่วคราวภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 นี้ ภายหลังจากมีการผ่อนคลายชั่วคราวจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อต้องการเติมเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องจำนวนมาก โดยการเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อที่อยู่อาศัยให้กลุ่มผู้ที่มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่มากนัก และมีความสามารถรองรับการก่อหนี้เพิ่มได้


ทั้งนี้ มองว่าการไม่ต่ออายุดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากเกือบทั้งหมดกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกที่มูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งมาตรการ LTV ปัจจุบันสำหรับซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกที่ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาทผ่อนคลายมากอยู่แล้ว โดยกำหนดการปล่อยสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) อยู่ที่ 100% อย่างไรก็ดี อาจจะกระทบลูกค้ากลุ่มที่มีรายได้สูง หรือราคาบ้านสูงกว่า 10 ล้านบาทเล็กน้อย เนื่องจากต้องวางเงินดาวน์เพิ่มเติมบางส่วนประมาณ 10-20%


อย่างไรก็ดี หากการขยายระยะเวลาการผ่อนคลายมาตรการอาจเอื้อให้เกิดการสะสมความเสี่ยงในระบบการเงินในระยะต่อไปได้ เช่น การเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์โดยผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง และส่งผลต่อระดับหนี้ครัวเรือนให้เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้น มองไปข้างหน้าจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ทำให้การปรับทิศทางนโยบายการเงินจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจไทย (gradual and measured) ประกอบกับเป็นสัญญาณที่ดีต่อผู้ประกอบการที่จะมีความมั่นใจมากขึ้น






สำหรับตัวเลขการโอนอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 พบว่ามียอดการโอนขยายตัวสูงถึง 8.5% และจำนวนตัวเลขการเปิดโครงการใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 9,000 หน่วยต่อเดือน เทียบกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ในปี 2562 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 9,200 หน่วยต่อเดือน


ในแง่มาตรการ LTV ถือเป็นมาตรการผ่อนคลายชั่วคราว มีการประกาศใช้ตั้งแต่ช่วงเดือนต.ค. ปี 2564 ถึง 31 ธ.ค. 65 ซึ่งเราดูสัญญาณและทบทวนแล้ว ว่าจะไม่ต่ออายุมาตรการชั่วคราว เมื่อครบกำหนดมาตรการก็จะกลับไปเหมือนเดิม ซึ่งมองว่าไม่ได้กระทบการซื้อบ้าน เนื่องจากสัดส่วนมากกว่า 86% เป็นการซื้อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นบ้านหลังแรกที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง และระดับบ้านเกิน 10 ล้านบาทอาจจะต้องเพิ่มเงินดาวน์บ้าง 10-20%




แชร์บทความนี้


热门文章


文章

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... 继续阅读......

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... 继续阅读......

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... 继续阅读......

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... 继续阅读......

6 ฟีเจอร์ในบ้านยุคใหม่ ที่ผู้ซื้อมองหา

ความต้องการของผู้ซื้อบ้านในยุคปี 2024 นี้ ก็แตกต่างจากยุคสมัยก่อน ดังนั้น เราจึงตรงปรับฟังก์ชั่นการใ ... 继续阅读......