พาทัวร์ บ้านตึกแถวย่านประวัติศาสตร์ คงความดั้งเดิมในยุคใหม่

แชร์บทความนี้

ตึกแถว เป็นสถาปัตยกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน วันนี้ บ้านไฟน์เดอร์พาชม ตึกแถว ในถนน Joo Chiat ย่านเก่าแก่ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งตึกแถวในย่านนี้ แม้ว่าจะเป็นบ้านของประชาชนทั่วไป แต่รัฐบาลสิงคโปร์ก็ประกาศว่า เจ้าของบ้านในย่านนี้จำเป็นต้องรักษาสถาปัตยกรรมดั้งเดิมนี้ไว้ด้วย

 

ตึกแถวในย่านนี้ สร้างขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ได้รับอิทธิพล ด้านสถาปัตยกรรมจากทั้ง  มาเล จีน และ ยุโรป และก็เป็นย่านที่คู่สามี ภรรยา ทนายความ ในช่วงวัย 40 ปีคู้นี้ ตกลงใจที่จะซื้ออยู่อาศัย



ตึกแถว 2 ชั้นนี้ มีพื้นที่ขนาด 197 ตารางเมตร ประกอบด้วย 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และได้รับการออกแบบ ปรับปรุงโดยบริษัทสถาปนิก Erza Architects ที่วาดเขียนแบบและลงสีน้ำไว้ให้กับเจ้าของ ก่อนเริ่มโปรเจ็กต์

และเจ้าของบ้านก็นำมาใส่กรอบ แขวนไว้บริเวณทางเข้าบ้าน ในเวลาที่มีแขกมาเยี่ยม ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราวของตัวบ้านได้อย่างน่าสนใจมากๆ

 

โดยการรีโนเวท ก่อสร้างในย่านนี้จำเป็นต้องดำเนินการตาม กฏหมายการก่อสร้างพื้นที่ในย่านประวัติศาสตร์ อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสถาปัตยกรรมด้านหน้าให้เหมือนเดิมที่สุด และอาจจะต้องฟื้นฟูทำใหม่ให้เหมือนเดิม หากจำเป็น ซึ่งสำหรับตึกแถวนี้ ความสำคัญคือด้านหน้าบ้านที่ต้องรักษาเอาไว้ให้เหมือนเดิม  

 

สำหรับการก่อสร้างบ้านนี้ ช่วงแรกเริ่ม จำเป็นต้องทุบผนังกั้นออกไปค่อนข้างเยอะ เพราะเจ้าของบ้านคนก่อน กั้นไว้เพื่อปล่อยเช่าห้องต่างๆ  และแผนคือปรับปรุงในส่วนของด้านหลัง และห้องใต้หลังคา ให้อยู่ในโครงเสริมเดิม ซึ่งต้องอาศัยการใช้แรงเสริมใหม่ๆ ที่ดีขึ้น

 

สำหรับบ้าน หลังนี้ สถาปนิกต้องการทำให้บ้านเป็นเหมือนผืนภาพขนาดใหญ่สำหรับงานศิลปะ เพื่อที่จะโชว์ศิลปะ ของเก่าแก่จากทั่วโลก ที่เป็นของสะสมของเจ้าของบ้าน และการทาสีผนังเป็นสีขาวก็ดูตอบโจทย์ที่สุด

 

เมื่อแขกเข้ามาภายในบ้าน และผ่านทางเข้าด้านหน้า ที่มีภาพวาดของโครงสร้างบ้าน ก็จะพบกับห้องรับแขก ซึ่งมีภาพศิลปะ และของสะสมตั้งโชว์อยู่ โดยผนังเป็นการโชว์อิฐเดิมจากสมัยก่อนสงครามโลก ที่ต้องแซะปูนเดิมออกเพื่อเผยอิฐเหล่านี้

 

และเห็นคานไม้ดั้งเดิมของตัวตึก ซึ่งบางส่วนก็คดเบี้ยวบาง ทำให้ต้องนำออก ปรับปรุง และใส่กลับเข้าไปพร้อมกับการเสริมเหล็กด้านใน

  

 

บันไดนำไปสู่ชั้น 2 ของบ้าน ที่มีห้องนอนหลัก และห้องนั่งเล่น

 

ประตูห้องนอนชั้น 2 เป็นประตูหมุนออกทีสามารถเปิดเพื่อเชื่อมต่อไปยังห้องนั่งเล่น และด้านบนห้องนอนก็เป็นห้องใต้หลังคาที่เพิ่มเข้าไปใหม่ สำหรับเจ้าของบ้านเพื่อที่จะใช้เป็นออฟฟิศนั่นเอง

 

ซึ่งในห้องนั่งเล่นนี้ เจ้าของก็ยังสะสมเฟอร์นิเจอร์วินเทจอีกด้วย ดังนั้น งานของสถาปนิก จึงเป็นการมองหาความลงตัวที่จะดึงเอาของใช้วินเทจเหล่านี้ มาวางลงในงานออกแบบ

 

สำหรับห้องนอน เจ้าของบ้านก็มี พัดลมวินเทจของเจ้าของบ้าน ผสมผสานกับตู้เสื้อผ้าโพลีฟอร์ม

 

และห้องน้ำหลักก็อยู่ถัดไปจาก ห้องนั่งเล่นบนชั้น 2 ซึ่งสามารถขึ้น-ลง บันไดวนด้านหลังบ้านได้อีกทาง

 

ตัวบันไดวนนี้เป็นการทำขึ้นมาใหม่ ในรูปแบบดั้งเดิม สถาปนิกของบ้านหลังนี้ บอกว่า เขาอยากได้บันไดวนเก่าดั้งเดิม โดยเขาบินไปยัง ปีนัง ประเทศมาเลเซีย เพื่อตามหาแหล่งสำหรับบันไดวนดัด สร้างด้วยเหล็กบริสุทธิ์ (wrought iron) ซึ่งก็พบเข้าอยู่อันหนึ่ง แต่น่าเสียดายที่ติดต่อกับเจ้าของบ้านเพื่อตกลงไม่ทัน ทำให้บันไดนั้นถูกหลอมขายไปเสียแล้ว แต่เขาก็สามารถหาช่างเหล็กในสิงคโปร์เพื่อสร้างบันไดวนเหล็กนี้ขึ้นมาใหม่สำหรับตึกแถวนี้ได้ในที่สุด

 

และบันไดวนนี้ก็จะพามายัง ห้องนอนรับแขกอีกห้องหนึ่งด้านหลังบ้าน ซึ่งอยู่ด้านบนของห้องรับประทานอาหารด้านล่าง

 

พร้อมห้องน้ำด้านหลังด้วย

 นอกจากนั้น บันไดวนยังขึ้นมาสู่พื้นที่ดาดฟ้า ซึ่งถูกออกแบบไว้ โดยใช้กรงเหล็กดัดเป็นทรงเกล็ดปลาเป็นรั้วล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแพทเทิร์นของหลังคาตึกแถวดั้งเดิม

 

ห้องนอนรับแขกนี้จะมองเห็นสวนกลางบ้าน ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเด่นของบ้านยุคนี้ ที่เปิดโล่งกลางบ้าน ที่เจ้าของบ้านคนเก่านั้นปิดไว้ แต่เมื่อต่อเดิมด้านหลังก็ทำให้ ตึกแถวนี้นำเอาสถาปัตยกรรมนี้กลับมาอีกครั้ง

 

ในแบบเดิม ตึกแถวนี้ มีที่พักของคนงาน พร้อมสวนอยู่ด้านหลัง ซึ่งก็ได้ปรับมาเป็นห้องครัวแนวยาว และสวนกลางบ้านที่มีห้องนั่งเล่นอยู่ด้านหนึ่ง และห้องรับประทานอาหารอีกด้วนหนึ่ง และห้องครัวก็เอ็นจอยวิวสวนได้เต็มๆ  

 

เจ้าของบ้านชื่นชอบในการทำอาหาร และพูดคุยกับแขก ซึ่งการที่มีห้องครัวอยู่ตรงกลางระหว่างห้องรับแขกและห้องทานข้าว ก็ทำให้เจ้าของบ้านเข้าถึงและพูดคุยกับแขกระหว่างทำอาหารได้ง่ายขึ้น

  

 

วิวจากห้องกินข้าว พร้อมเพดานสูงก็ทำให้รู้สึกโปร่งสบาย เหมือนอยู่ข้างนอก แม้ว่าจะอยู่ในบ้านก็ตาม รวมทั้งประตูกระจกหมุนเปิดได้ก็ช่วยทำให้ลมผ่านได้ดีเมื่อเปิดประตู และที่สำคัญ สามารถรับแสงธรรมชาติทำให้บ้านดูกว้าง สบายมากขึ้น แม้ในตอนที่ปิดประตู

 

และในส่วนที่เหลือของบ้านก็ จัดวางงานศิลปะ เฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยของเจ้าของบ้านไว้ตามที่ต่างๆ ได้อย่างดี สุดท้ายแล้วการสร้างบ้านในย่านประวัติศาสตร์ ในสามารถคงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมของยุคสมัยนั้น ปรับเข้ากันกับการดำรงชีวิตของยุคสมัยนี้ ก็สามารถทำได้อย่างลงตัว

 

สถาปนิกโปรเจ็กต์นี้ คำนึงถึงกฎอยู่ 3 เรื่องคือ 1. เก็บรักษาให้ได้มากที่สุด  2. เก็บกลับมาใช้อย่างรู้คุณค่า และ 3. เก็บซ่อมแซมงานอย่างละเอียด ซึ่งพวกเขาก็แสดงให้เห็นว่า ทำงานนี้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

สำหรับตึกแถวเมืองไทย ก็สามารถเก็บเอาไอเดียเหล่านี้ มาลองประยุกต์ใช้ได้เหมือนกันนะ

ข้อมูลจาก: houzz.com
แชร์บทความนี้

热门文章


文章

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... 继续阅读......

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... 继续阅读......

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... 继续阅读......

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... 继续阅读......

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... 继续阅读......