ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินคิดอย่างไร โปรแกรมคำนวณค่าธรรมเนียมการโอนซื้อขายบ้านเบื้องต้น

แชร์บทความนี้

ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ ซื้อขายบ้าน ที่สำนักงานที่ดิน


ก่อนที่เราจะไปโอนซื้อขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างกัน นอกจากเงินที่เตรียมไว้จากราคาตกลงซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อ ผู้ขาย ยังต้องตกลงกันในเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอากรด้วยเช่นกัน


แล้วค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการโอนซื้อขายบ้านมีอะไรบ้าง และเราจะกำหนดคร่าวๆ ได้อย่างไร วันนี้บ้านไฟน์เดอร์พามาดูวิธีการใช้โปรแกรมคำนวณภาษีอากร จากกรมที่ดิน เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอากรเบื้องต้น เพื่อที่เราจะได้เตรียมเงินไปถูกในวันที่โอนซื้อขายที่สำนักงานที่ดิน 


ค่าใช้จ่ายในการโอนซื้อขายบ้าน บุคคลธรรมดา มีอะไรบ้าง

  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของจากราคาประเมิน หรือราคาขาย แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า  
  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ตามขั้นของสรรพากร)
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน (กรณีถือครองน้อยกว่า 5 ปี และมีชื่อในทะเบียนบ้านของโฉนดที่ขายน้อยกว่า 1 ปี)
  • ค่าอากรแตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขายแต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน (ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ กรณีเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)
  • ค่าภาษีท้องถิ่น 0.3% 
  • กรณีผู้ซื้อจดจำนองกับสถาบันการเงิน มีค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จำนอง
  • ค่าคำขอ 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท


แค่เห็นก็ตาลายยแล้วใช่ไหม แต่เราสามารถคำนวณเบื้องต้นง่ายๆ ได้จากโปรแกรมของกรมที่ดินเลยนะ มาดูกันเลยว่าทำอย่างไร 



คำนวณค่าใช้จ่าย ด้วยโปรแกรมคำนวณภาษีอากร จากกรมที่ดิน 

เราสามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมและภาษีอากร ในการ ซื้อขายที่ดิน บ้าน ก่อนไปโอนที่ได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมคำนวณภาษีอากรของกรมที่ดิน


>> คลิกเข้าใช้งานคำนวณภาษีอากร กรมที่ดิน << 



ก่อนใช้งาน เตรียมข้อมูลอะไรและหาจากไหน  

เมื่อกดเริ่มต้นคำนวณค่าใช้จ่าย ระบบจะถามข้อมูล ดังนั้นคุณควรมีข้อมูลโฉนดที่จะซื้อขาย ก็จะสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้ไม่ยาก ข้อมูลที่ต้องมี ดังนี้ 


1. ราคาตกลงซื้อขาย (ราคาทุนทรัพย์)

2. เนื้อที่ดินกี่ไร่ กี่งาน กี่ตารางวา  

3. ราคาประเมินต่อตารางวา (คลิกตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยธนารักษ์

4. บนที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ 

  • ประเภทของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งนับตั้งแต่ คลังสินค้า โรงงาน ตลาด บ้าน ตึกแถว สระว่ายน้ำ ฯลฯ 
  • ปี พ.ศ. ที่ปลูกสร้าง
  • ประเภทวัสดุ เช่น ตึก ตึกครึ่งไม้ ไม้ หรือ อื่นๆ 
  • พื้นที่ของสิ่งปลูกสร้าง (ตารางเมตร) 
  • ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง (ค้นหาราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างโดยธนารักษ์ที่นี่

5. วันที่ได้มาของที่ดิน (ตรวจสอบหลังโฉนด)

6. วันที่ได้มาของสิ่งปลูกสร้าง มาพร้อมที่ดินไหม 

7. ผู้ขาย (เจ้าของโฉนด) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของโฉนดที่จะขาย เกิน 1 ปี หรือไม่

 

เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ระบบจะคำนวณภาษีอากรออกมา ตัวอย่างดังนี้ 

 


โปรแกรมนี้ มีประโยชน์มากๆ ในตลาดอสังหาฯ เพราะนอกจากจะช่วยในการทำนิติกรรมประเภทขายอสังหาฯ แล้วยังมีบริการในส่วนของ ขายฝาก จำนอง โอนมรดก ให้ และเช่า อีกด้วย ลองใช้งานกันดูได้เลย 


>> คลิกเข้าใช้งานคำนวณภาษีอากร กรมที่ดิน << 



***หมายเหตุ โปรแกรมนี้ทางกรมที่ดินแจ้งว่าไม่สามารถใช้ยืนยันต่อคู่สัญญาและกรมที่ดินได้ เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ช่วยให้ประชาชนคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น กรณีมีข้อสงสัยโปรดติดต่อสอบถามกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่



แชร์บทความนี้

热门文章


文章

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... 继续阅读......

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... 继续阅读......

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... 继续阅读......

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... 继续阅读......

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... 继续阅读......