แผนแม่บทรถไฟฟ้าเฟส 2บูมที่รอบสถานี-เมืองบริวาร

แชร์บทความนี้

ปี 2562 เป็นต้นไปประเทศไทยจะมีรถไฟฟ้าสารพัดสีเปิดหวูดบริการ จนครบ 10 เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กม. จากปัจจุบันเปิดให้บริการ 5 เส้นทาง 77 สถานี 107.8 กม.

 

ทั้ง 10 เส้นทางเป็นโครงข่ายถูกร่างไว้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะเวลา 20 ปี นับจากปี 2553-2572 ใช้เม็ดเงินก่อสร้างกว่า 7.8 แสนล้านบาท สถานะ ณ ปี 2560 มีทั้งที่ก่อสร้างเสร็จเปิดให้บริการ กำลังก่อสร้างและขออนุมัติจาก "ครม.-คณะรัฐมนตรี"

 

แต่กว่าที่แต่ละสายจะได้เดินหน้าก็ใช้เวลาผลักดันหลายปีและล่าช้าจากไทม์ไลน์ สวนทางกับสภาพของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปมาก จากการขยายตัวของภาคธุรกิจและการพัฒนาเมืองทั้งใจกลางกรุงเทพฯ ไปสู่ปริมณฑล

 

ล่าสุด "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" กำลังทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ในพื้นที่ต่อเนื่อง โดยร่วมกับประเทศญี่ปุ่นศึกษา หลังได้รับการสนับสนุนจาก "ไจก้า-องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น" ด้วยการนำโมเดลการพัฒนาจากญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบผ่านแนวคิด 5 กรอบ คือ

 

1.การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เกิดประโยชน์

2.รถไฟฟ้าจะสร้างหลังจากนี้เน้นใช้วัสดุและคนในประเทศ

3.ลดต้นทุนในการลงทุนระบบที่ไม่จำเป็นออก เช่น เส้นทาง เดโป

4.สร้างรถไฟฟ้าเพื่อคนทุกกลุ่ม และ

5.เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองบริวาร ตามแผนแม่บทด้านเหนือจะอยู่ที่รังสิต ด้านตะวันออกอยู่ที่มีนบุรี ด้านตะวันตกอยู่ที่ตลิ่งชัน-ศาลายา และด้านใต้อยู่สำโรง สมุทรปราการ ไม่ให้การพัฒนาเมืองเติบโตแบบไร้ขีดจำกัด

 

 

ขณะที่จำนวนเส้นทาง ยังคง 10 เส้นทางไว้เท่าเดิม ยกเว้นบางพื้นที่ต้องเพิ่มเพื่อเติมส่วนที่ยังขาดหายไปให้มีความสมบูรณ์ของการเดินทาง

 

"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การศึกษาแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ไจก้าจะเริ่มทบทวนโครงข่ายเดิมในระยะที่ 1 ดูว่าเส้นทางไหนที่ยังจำเป็นหรือไม่จำเป็น

 

จะเน้นโครงข่ายย่อยเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ปริมณฑลให้มากที่สุด ส่วนการออกแบบต้องคำนึงถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่สถานี เข้าถึงพื้นที่ธุรกิจ หรือย่านการค้า และสร้างเมืองและพื้นที่ธุรกิจใหม่ ควบคู่โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้การลงทุนโครงการเกิดประโยชน์สูงสุด

 

โดยย้ำว่าจะเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่ จากเมื่อก่อนเน้นสร้างรถไฟ แต่ไม่ได้คิดถึงการสร้างเมือง ไม่สร้างผ่านย่านธุรกิจเพราะมูลค่าที่ดินแพง ทั้งที่เป็นการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการและเกิดการสร้างที่อยู่อาศัยด้วย ซึ่งไจก้าใช้เวลาศึกษา 1 ปี มีกำหนดเสร็จปี 2561 จากนั้นถึงเสนอให้ ครม.อนุมัติต่อไป

ข้อมูลจาก  prachachat.net

แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... อ่านต่อ...

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... อ่านต่อ...

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... อ่านต่อ...

6 ฟีเจอร์ในบ้านยุคใหม่ ที่ผู้ซื้อมองหา

ความต้องการของผู้ซื้อบ้านในยุคปี 2024 นี้ ก็แตกต่างจากยุคสมัยก่อน ดังนั้น เราจึงตรงปรับฟังก์ชั่นการใ ... อ่านต่อ...