ลุย ไฮสปีดโคราช เต็มสูบ! จีนรุก EEC บี้ไทยเชื่อม 'หนองคาย-ลาว-คุนหมิง'

แชร์บทความนี้

นับจากรัฐบาลทหารเข้ามาบริหารประเทศ พร้อมประกาศจะผลักดันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ประเดิมเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในพื้นที่ภาคอีสานเป็นสายแรก ระยะทาง 253 กม.

ด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศจีน ร่วมกันแจ้งเกิดรถไฟหัวจรวดสายนี้ให้เป็นจริง โดยรัฐบาลไทยจะเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมดด้วยเม็ดเงิน 179,412 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลจีนจะช่วยออกแบบรายละเอียดและจัดหาระบบรถไฟความเร็วสูงให้ หลัง “ไทย-จีน” ประชุมร่วมกันมาแรมปี ถึงขณะนี้ไฮสปีดเทรนสายแรกของประเทศไทย กำลังเดินหน้าด้วยความละเมียดละไม

จากไทม์ไลน์การก่อสร้างของโครงการ ที่แบ่งออกเป็น 14 ตอน หลังคิกออฟช่วงแรกจากสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. โดยกระทรวงคมนาคมให้ กรมทางหลวง รับหน้าที่เนรมิตถมคันดินด้วยวงเงิน 425 ล้านบาท เปิดไซต์เมื่อเดือน มี.ค. 2561 ปัจจุบันผลงานคืบหน้ากว่า 7% มีกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.นี้

 

ส่วนอีก 13 สัญญาที่เหลือ มีข้อสรุปจากที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา

 

โดยอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่างานช่วงแรกการก่อสร้างเป็นที่น่าพอใจและมีความคืบหน้าตามลำดับ โดยมีวิศวกรชาวจีนเป็นที่ปรึกษาควบคุมงาน ส่วนตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. กำลังตรวจสอบแบบรายละเอียดที่ฝ่ายจีนจัดส่งและมีปรับแก้ไข ทางจีนจะส่งให้ภายในวันที่ 8 มิ.ย.นี้ คาดว่าจะประกวดราคาในเดือน ส.ค. และเริ่มการก่อสร้างในเดือน พ.ย.นี้

 

อีก 12 ตอน จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 ตอน ฝ่ายจีนจะส่งแบบรายละเอียดทั้ง 2 กลุ่ม ให้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งไทยต้องใช้เวลาในการตรวจสอบแบบรายละเอียดและเสนอความเห็นให้จีน หากต้องมีการปรับแก้ไข

 

เช่น การออกแบบอาคารสถานีที่ไทยต้องการให้มีเอกลักษณ์ในรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทย คาดว่าจะดำเนินการประกวดราคากลุ่มแรก จำนวน 5 ตอน ได้ประมาณเดือน ก.ย.นี้ เริ่มก่อสร้างประมาณเดือน มี.ค. 2562 ประกอบด้วย

สัญญาที่ 3 ช่วงแก่งคอย-บันไดม้า ระยะทาง 32 กม.

สัญญา 4 ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 11.7 กม.

สัญญา 5 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 24.8 กม.

สัญญา 6 ช่วงลำตะคอง-โคกกรวด ระยะทาง 37.6 กม.

สัญญา 7 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 13.7 กม.

 

จากนั้นประมาณเดือน พ.ย.นี้จะเริ่มดำเนินการประกวดราคากลุ่มที่ 2 จำนวน 6 ตอน เพื่อให้เริ่มงานก่อสร้างประมาณเดือน เม.ย. 2562 ประกอบด้วย

สัญญา 8 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 11 กม.

สัญญา 9 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 22.6 กม.

สัญญา 10 ช่วงนวนคร-บ้านโพธิ์ ระยะทาง 23 กม.

สัญญา 11 เชียงรากน้อย (เดโป้)

สัญญา 12 ช่วงบ้านโพธิ์-พระแก้ว ระยะทาง 14.4 กม.

สัญญา 13 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 30.5 กม.

สัญญา 14 ช่วง สระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 13 กม.

 

“การประมูลสัญญาที่เหลือ การรถไฟฯจะดำเนินการปกติและเป็นการทั่วไป ตามขั้นตอน พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง 2560 จะกำหนดเป็นทีโออาร์เพื่อเปิดประมูลต่อไป” นายอาคมกล่าวและว่า

ขณะเดียวกันยังมีการเจรจาหารือสัญญา 2.3 เป็นงานระบบรถไฟความเร็วสูงและการฝึกอบรม วงเงินลงทุนกว่า 5.4 หมื่นล้านบาท โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะเร่งเจรจาร่วมกันให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อที่กระทรวงการคลังจะได้จัดหาแหล่งเงินกู้ต่อไป ซึ่งรวมถึงเงินกู้จากประเทศจีนด้วย

นายอาคมยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯยังมีการติดตามความก้าวหน้า แผนการก่อสร้างเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางประมาณ 350 กม. ที่จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน ที่เวียงจันทน์ ที่กำลังก่อสร้างด้วยระยะทาง 420 กม.ในอนาคต

 

“หลักการฝ่ายไทยจะออกแบบรายละเอียดเอง โดยจีนเป็นที่ปรึกษา เพราะใช้เทคโนโลยีจีนและมีส่วนเชื่อมต่อกับลาวไปยังจีน และให้จีนประเมินกรอบวงเงินเบื้องต้น ตั้งเป้าจะศึกษาออกแบบให้เสร็จอย่างเร็วในปี 2561 และจะเริ่มก่อสร้างในปี 2562 โดยจีนต้องการเร่งเฟส 2 ให้ทันกับเฟสแรก ในปี 2566 เพื่อเปิดเดินรถพร้อมกันตลอดสายจากกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุนหมิง”

ทั้งนี้ จะมีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ ไทย สปป.ลาวและจีน เพื่อกำหนดตำแหน่งสะพาน ตำแหน่งที่ตั้งสถานีฝั่งลาว เนื่องจากจะต้องสร้างสะพานแห่งใหม่มารองรับกับแนวเส้นทางโครงการ เนื่องจากติดปัญหาการจราจรคอขวดบนสะพานที่ใช้ร่วมกับรถยนต์

 

โดยตำแหน่งที่จะสร้างจะตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ปัจจุบันห่างออกไปประมาณ 30 เมตร จะสร้างคู่ขนานไปกับสะพานเดิม และจะสามารถรองรับได้ทั้งรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร สำหรับระบบรถไฟความเร็วสูงและรางขนาด 1 เมตร สำหรับรถไฟทางคู่ ส่วนสะพานมิตรภาพเดิมจะยกเลิกทางรถไฟในปัจจุบัน และให้สะพานรองรับรถยนต์เพียงอย่างเดียว

 

ทั้งนี้ ในผลการศึกษาของ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ก่อนหน้านี้ ในเบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนจากนครราชสีมา-หนองคาย ประมาณ 170,725 ล้านบาท เป็นความก้าวหน้าล่าสุดของไฮสปีดไทย-จีน ที่ใช้ระบบรถไฟหัวจรวดจากแดนมังกร

 

ว่ากันว่า…กลุ่มบริษัทจีน 7 ราย ที่ลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเวียงจันทน์-คุนหมิงเมืองเอกในมณฑลยูนนาน ประตูการค้าทางฝั่งตะวันตกของประเทศจีน

 

กำลังรุกคืบมายังกระดานประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เพื่อต่อยอดกับเส้นทางที่กำลังสร้างอยู่ฝั่งลาวให้เชื่อมโยงประตูการค้าให้ไปด้วยกัน

หากเข้าป้ายเท่ากับ “จีน” ดันเส้นทางสายไหมโดยรวบรถไฟความเร็วสูงไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt One Road จะเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางรางของไทยสู่การค้ากับ 64 ประเทศ มีประชากรรวมกันประมาณ 4,400 ล้านคน ได้อย่างราบรื่นด้วยรถไฟความเร็วสูง

ข้อมูลจาก: prachachat.net
แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

ซื้อที่ดินทำเกษตร ในวัยเกษียณ ต้องดูอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรเพื่อการดำรงชีพ การดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก หรือเพียงแค่งานอดิเรก การซื้อที่ดินเพื ... อ่านต่อ...

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง (พร้อมตัวอย่าง)

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน มีความสำคัญมาก หลังจากที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงราคาได้เรียบร้อย และอาจจะกำลังวางเ ... อ่านต่อ...

เทคนิคการถ่ายภาพอสังหาฯ ด้วยมือถือ ดึงดูดผู้ซื้อ เมื่อลงประกาศขาย

ประกาศที่มีรูปภาพสวยกว่า มักจะได้รับความสนใจจากผู้ซื้อมากกว่า ดังนั้น รูปภาพอสังหาฯ จึงมีความสำคัญอย ... อ่านต่อ...

บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝด แตกต่างกันยังไง เลือกแบบไหนดี

ผู้ที่กำลังซื้อบ้าน อาจจะสงสัยว่า บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝดแตกต่างกันยังไง และควรเลือกแบบไหนดี เมื่อซื้ ... อ่านต่อ...

คำศัพท์อสังหาฯ ที่เราควรรู้ เมื่อซื้อขายอสังหาฯ

เมื่อคุณเริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดอสังหาฯ อาจจะกำลังมองหา ซื้อคอนโด หรือ ซื้อบ้าน หลังแรกในชีวิต คุณอาจพบเ ... อ่านต่อ...