มุมมองจาก ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ส่องโอกาส 'ตราด' ในโลกการค้ายุคใหม่

แชร์บทความนี้

ศูนย์เครือข่ายธุรกิจจังหวัดตราด (Moc Biz Club Trat) สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ร่วมกับจังหวัดตราด หอการค้า สภาอุตสาหกรรม จังหวัดตราด ได้เชิญ “รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ไปบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ส่องโอกาสธุรกิจชาวตราดในโลกการค้ายุคใหม่” โดยมีข้อสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้

เร่งเปลี่ยน 5 ปัญหาก่อนสายเกินแก้

 

ดร.ชัชชาติ เปิดประเด็นว่า ความเป็นอยู่ของชาวตราดถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี โดยรายได้ต่อหัว (GPP) ปี 2558 จำนวน 148,446 บาท/คน อยู่อันดับที่ 22 ของประเทศ และลำดับที่ 6 ของภาคตะวันออก แต่เมื่อพิจารณาเรื่องระบบการขนส่งมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ทางรถยนต์ มีเชื่อมต่อ 2 สาย คือ หมายเลข 344 จาก อ.แกลง จ.ระยอง มาเชื่อมกับสุขุมวิท หมายเลข 3 และหมายเลข 317 เชื่อมกับทางอีสาน แต่ข้อดีคือ มี สาย R10 เป็นแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้เชื่อมไปกัมพูชา เวียดนาม และอนาคตจะเชื่อมกับทวายและเมียนมา ด้านเกาะช้างสถานที่เที่ยวสำคัญยังขาดถนนรอบเกาะ นอกจากนี้ ตราดเองได้ประโยชน์จากการค้าชายแดนน้อย

 

อนาคตจังหวัดตราดมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเปลี่ยนแปลงใน 5 ประเด็นก่อนจะแก้ไขไม่ได้ คือ

 

1.การเชื่อมโยง คือ ระบบการขนส่งรถสาธารณะ ใช้เวลาเดินทางนานกว่า 6 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางมีไฟแดงถึง 35 แยก จึงน่าผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงจากอู่ตะเภามาถึงตราดอีก 173 กิโลเมตร คาดใช้เงินลงทุน 100,000 ล้านบาท

 

ส่วนสนามบินมีข้อจำกัด รันเวย์ 1,800 เมตร รองรับเครื่อง ATR ได้ชั่วโมงละ 1 เที่ยวบิน ส่งผลให้ค่าโดยสารสูงถึง 7,380 บาท จึงควรเพิ่มอีก 2 หลุมจอดให้รองรับได้ 3 เที่ยวบิน/ชั่วโมง และขยายรันเวย์เป็น 2,200 เมตร ให้รองรับเครื่อง Airbus 320 ของสายการบินโลว์คอสต์ได้ เพื่อให้ค่าโดยสารถูกลง โดยตราดไม่จำเป็นต้องมีสนามบินแห่งใหม่เพิ่ม

 

2.ด้านการท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม อัตราการเติบโตด้านการท่องเที่ยวน้อย ถ้าเปรียบเทียบกับรายได้ท่องเที่ยวระดับประเทศ 2.2 ล้านบาท ตราดมีรายได้การท่องเที่ยวลำดับที่ 15 ปี 2560 จำนวน 16,763 ล้านบาท ช่วงระหว่างปี 2557-2560 อัตราการเติบโต 8.8% ต่ำกว่าของประเทศ 13.1% ซึ่งเติบโตน้อยมาก

 

ด้านโรงแรม ปี 2559 มีรายได้จากโรงแรม 15,960 ล้านบาท เทียบกับชลบุรี 190,804 ล้านบาท ตราดมีอัตราเข้าพักนักท่องเที่ยวเฉลี่ย 63% การท่องเที่ยวมีช่องว่างจะพัฒนาได้อีก แต่ต้องระวังปัญหาขยะตามแหล่งท่องเที่ยวเกาะช้าง เกาะกูด เป็นภาพลบต่อการท่องเที่ยว ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

 

3.ด้านการแข่งขัน ต้องเผชิญทั้งภายในและเพื่อนบ้าน อย่างแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ใช้งบฯลงทุน 700,000 กว่าล้านบาท แต่ตราดไม่ได้รับอานิสงส์นี้ และควรทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์จาก EEC เช่น ทำที่อยู่อาศัย การเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูง

 

ขณะที่กัมพูชามีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเกาะกงติดชายแดนตราดเปลี่ยนแปลงเร็วมาก มีบริษัทไทยย้ายฐานการผลิตไป ราคาที่ดินติดถนนสูงถึงไร่ละ 16 ล้านบาท และอนาคตแรงงานจะกลับไปกัมพูชา ปัญหาสินค้าประมงนำเข้า ระบบการขนส่งสินค้าข้ามแดนและสินค้าข้ามประเทศยังไม่มีมาตรฐาน ไม่มีประสิทธิภาพ

 

4.การลงทุนขนาดใหญ่ ที่มาจากส่วนกลางอาจจะไม่ใช่ความต้องการของคนในจังหวัดตราด เช่น ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ มีปัญหาทางออกต้องเวนคืนที่ดินเพิ่ม ขณะที่ท่าเทียบเรือเอกชนมีดีมานด์มากกว่า บริการได้ดีกว่า รวมถึงการทำเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ บนพื้นที่ 900 ไร่ มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท เริ่มแรกตั้งไว้เป็นศูนย์กลางการค้าส่ง ขนส่งต่อเนื่องระหว่างประเทศและศูนย์กลางการให้บริการการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค เริ่มแผนลงทุนปี 2561 ท้องถิ่นต้องจับตาว่า แผนที่ทำตรงเป้าหมายหรือไม่ ทำเพื่อคนตราดหรือไม่ รวมทั้งจัดการปัญหาขยะที่มีอยู่

 

5.ด้านผลผลิตทางการเกษตร ปัญหาด้านเสถียรภาพราคา และคู่แข่งเพื่อนบ้าน ตราดมีรายได้หลักปีละกว่า 10,000 ล้านบาท คิดเป็น 34% แต่ปัญหาคือ ราคาสินค้าเกษตรไม่แน่นอน ทางออกต้องแปรรูป สร้างมูลค่า รวมทั้งปัญหาจากคู่แข่ง เช่น กัมพูชา เวียดนาม ที่ขยายการลงทุน นำเทคโนโลยีมาใช้ และอยู่ใกล้ตลาดจีน สังเกตจากตัวเลข 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค. 2560) เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 42% มูลค่าเกือบ 1,400 ล้านเหรียญ ตราดต้องปรับตัว โดยเฉพาะสินค้าผลไม้ ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงอนาคตการแข่งขันจะยากขึ้น

 

มองโอกาสธุรกิจในอนาคต

 

“ดร.ชัชชาติ” มองโอกาสของจังหวัดตราดในธุรกิจ ใน 5 เรื่อง คือ

 

1.ด้านนวัตกรรม ต้องพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปผลไม้ อาหาร ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า

 

2.การรวมตัวของภาคเอกชน ตราดมี “ร้านสหกรณ์” ที่เข้มแข็ง อนาคตภาคเอกชนควรรวมกันเป็นภาพใหญ่ทั้งจังหวัด เพื่อพัฒนาเมือง กำหนดนโยบายสร้างอำนาจต่อรองภาครัฐ

 

3.ภาคเกษตรกรรม ต้องพัฒนาผ่านระบบสหกรณ์ โดยสหกรณ์ 35 แห่งในจังหวัดตราด ทำกำไรให้ 45 ล้านบาท

อนาคตภาคเกษตรกรรมต้องนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาเป็นเกษตรอัจฉริยะ ใช้นวัตกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง สร้างแบรนด์มาตรฐานของจังหวัดตราด ส่งจำหน่ายตลาดภายในและต่างประเทศ เช่น ตลาดสุขภาพอย่างตลาดเกษตรอินทรีย์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

 

4.การท่องเที่ยว แบรนดิ้งและโพซิชั่นนิ่งของจังหวัดตราดต้องชัดเจนและใช้โลกโซเชียลมีเดียในการประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวาง

 

5.คุณภาพชีวิต จังหวัดตราดเตรียมตัวให้พร้อม อนาคตตราดขึ้นอยู่กับคนเป็นผู้กำหนด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรถไฟความเร็วสูง หรือโครงสร้างพื้นฐาน

ข้อมูลจาก: prachachat.net
แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... อ่านต่อ...

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... อ่านต่อ...

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... อ่านต่อ...

6 ฟีเจอร์ในบ้านยุคใหม่ ที่ผู้ซื้อมองหา

ความต้องการของผู้ซื้อบ้านในยุคปี 2024 นี้ ก็แตกต่างจากยุคสมัยก่อน ดังนั้น เราจึงตรงปรับฟังก์ชั่นการใ ... อ่านต่อ...