พลิกบ้านร้างอายุเกือบร้อยปีในชนบทญี่ปุ่น สู่บ้านพัก Airbnb

แชร์บทความนี้

หลังจากเรียบจบและได้ท่องเที่ยวไปหลายประเทศ ไดสุเกะ คาจิยามะ ชาวญี่ปุ่นวัย 40 ปี ก็กลับมาสู่ประเทศบ้านเกิด พร้อมกับภรรยาชาวอิสราเอล Hila ในปี 2011 ด้วยความตั้งใจที่จะมีบ้านพักญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม (หรือ Kominka) เพื่อทำตามฝันในการเปิดเกสต์เฮ้าส์ ซึ่งส่วนใหญ่ บ้านดั้งเดิมมักจะตกทอดเป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้มา  


แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป คนหนุ่มสาวหันไปหาโอกาสทำงานที่เมืองใหญ่ ทำให้ย่านชนบทของญี่ปุ่นมีบ้านที่ถูกทิ้งร้างจำนวนมาก และจำนวนประชากรที่ลดลงของญี่ปุ่น ก็คาดว่าจำนวนบ้านร้าง (Akiya) จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน นั่นเป็นเหตุผลที่ คาจิยามะ หันมาสนใจบ้านทิ้งร้างในชนบท 



วันหนึ่งในขณะที่ ไดสุเกะ คาจิยามะ ขับรถรอบๆ ชุมชนหมู่บ้าน Tamatori ในจังหวัด Shizuoka ที่ตั้งระหว่างเมืองโตเกียว และเมืองเกียวโต เขาพบกับหญิงสูงวัยที่กำลังทำสวน จึงลองถามว่า มีบ้านว่างๆ อยู่แถวนี้บ้างไหม ปรากฎว่าคุณยายก็ชี้ไปยังบ้านร้างสองหลังกลางป่าไผ่ที่เคยเป็นโรงงานชาเขียว และบ้านพักของชาวนาเก่าๆ ใกล้แม่น้ำ ที่ไม่มีใครอาศัยอยู่มา 7 ปีแล้ว   



หลังจากที่แวะดูที่อยู่หลายครั้ง ในที่สุดเขาก็ได้พูดคุยกับเจ้าของที่ดิน ถึงความคิดว่า ต้องการที่จะเปลี่ยนโรงงานชาเขียวเป็นบ้านเพื่ออยู่อาศัยเอง และจะเปลี่ยนบ้านพักเดิมเพื่อทำ เกสต์เฮ้าส์ เจ้าของบ้านแม้ว่าจะไม่ได้ตกลงในทันที เพราะรู้สึกว่าบ้านเก่ามากแล้ว คนไม่น่าจะอยู่ได้ แต่ก็ไม่ได้บอกปฏิเสธ คาจิยามะจึงพอมีหวังเล็กๆ และไม่ย่อท้อในการเข้าพูดคุยกับเจ้าของบ้านบ่อยครั้ง 



จนในที่สุด เจ้าของบ้านก็ยอมให้ คาจิยามะ รีโนเวทบ้าน โดยบ้านยังเป็นชื่อของเจ้าของเดิม แต่คาจิยามะ ไม่ต้องเสียค่าเช่าใดๆ ภายใต้เงื่อนไขในสัญญาว่าเขาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้านและการรีโนเวททั้งหมดเอง  


คาจิยามะ และภรรยา จึงเริ่มลงมือรีโนเวทบ้านอายุกว่า 90 ปี นี้ในปี 2012 โดยเขาได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากโปรแกรมของรัฐบาล นั่นคือ การนำเอาช่างไม้จากโปรแกรม Japan's Working Holiday มาช่วยงาน บวกกับประสบการณ์การทำงานในการซ่อมแซมบ้านเล็กน้อยของเขา เขาก็ลงมือปรับปรุงบ้านทั้งสองหลัง ด้วยการที่ออกไปท่องเที่ยวมาหลายประเทศ ทำให้เขาได้เจอแบบบ้านที่หลากหลายและน่าสนใจ เขาก็เก็บมาเป็นไอเดียในการรีโนเวท และเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย วัสดุไม้บางส่วนก็ได้มาจากการขอไม้เก่าจากคนในชุมชนที่กำลังจะทุบบ้านทิ้ง  



หลังจากศึกษากฎในการเปิดเกสต์เฮ้าส์ วิธีที่ง่ายที่สุดในการขอคือการจดทะเบียนเป็น บ้านพักเชิงเกษตรกรรม และพื้นที่ของเกสต์เฮ้าส์ของเขาก็อยู่ท่ามกลางธรรมชาติป่าไผ่พอดี คนจึงเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกไผ่ และสร้างธุรกิจไผ่ไปพร้อมๆ กับการทำเกสต์เฮ้าส์ 



2 ปีหลังจากที่เขาและภรรยารีโนเวทเสร็จ พวกเขาก็เปิดต้อนรับแขกในปี 2014 แขกจากหลายประเทศก็เข้าพักและประทับใจกับงานรีโนเวทของพวกเขาอย่างมาก เดิมที่เป็นคนชอบท่องเที่ยวอยู่แล้ว การได้เปิดเกสต์เฮ้าส์ต้อนรับเพื่อนชาวต่างชาติ ก็ทำให้เขารู้สึกเหมือนได้ท่องเที่ยวอีกครั้ง เพียงแต่ครั้งนี้คนจากหลากหลายชาติมาหาเขาถึงที่เองเลย 


ในปี 2022 ภรรยาของคาจิยามะก็จากไปด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งเขารู้สึกเสียใจอย่างมาก เพราะภรรยาถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเกสต์เฮ้าส์นี้ เขาเชื่อว่าเขาคงสร้างมันไม่ได้ถ้าไม่มีภรรยา 





เกสต์เฮ้าส์ 3 ห้องนอน ขนาด 80 ตารางเมตร แม้ว่าจะเปิดให้เข้าพักมาประมาณ 8 ปีแล้ว แต่เขาก็ยังคงปรับปรุงมันอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเขายังคงรู้สึกว่ายังมีรายละเอียดที่เขาสามารถเก็บได้อีกมาก ซึ่งต้องใช้เวลา 


Yui Valley เกสต์เฮ้าส์ 3 ห้องนอนท่ามกลางธรรมชาติของ ไดสุเกะ คาจิยามะ นี้เปิดให้เข้าพักในราคาคืนละประมาณ 5,000 บาท โดยจะปิดเข้าพักในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากเขาเองก็ต้องทำสวนไผ่ และอยากแบ่งเวลาไปท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน  


นอกจากที่พักแล้ว เขายังมีกิจกรรมเพิ่มเติมสำหรับแขก คือ เวิร์กช้อปจักสานไผ่ ที่ต้องจองล่วงหน้า สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามและจองที่พักที่นี้ได้ที่ Airbnb ของไดสุเกะ ได้เลย 









รูปภาพจาก: Airbnb  

แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

ซื้อบ้านในโครงการ หมู่บ้านจัดสรร ดีไหม ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาซื้อบ้านสักหลังเพื่อขยับขยายครอบครัว หรือย้ายที่อยู่ใหม่ อาจกำลังพิจารณาถึงบ้า ... อ่านต่อ...

ก่อนซื้อคอนโด ต้องดูอะไรบ้าง คำแนะนำสำหรับมือใหม่

ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตสมัยใหม่ที่เปลี่ยนไป ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย เลือกที่จะซื้อคอนโดเป็นที่อยู่ห ... อ่านต่อ...

7 วิธีลดความเครียด เมื่อต้องสร้างบ้านหลังแรก

การสร้างบ้านหลังแรกเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับเจ้าของบ้านที่เลือกซื้อที่ดินเปล่าสร้างบ้าน แต่กระบ ... อ่านต่อ...

ขายบ้านเก่า ซื้อบ้านใหม่ อย่าลืมขอคืนภาษีเงินได้จากการขายบ้านนะ

สำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะบ้านหรือคอนโด ที่กำลังต้องการขายที่อยู่เดิม เพื่อซื้อบ้านหลังให ... อ่านต่อ...

6 ไอเดีย ไฟบันได ออกแบบ lighting ไฟส่องบันไดในบ้าน อย่างไรดี

บันไดไม่ควรมืด นอกจากเรื่องของความปลอดภัยเพื่อให้เห็นทางบันได เราก็สามารถใช้ไฟเข้ามาสร้างความน่าสนใจ ... อ่านต่อ...