สรรพากรปิดช่องโหว่ เลี่ยงภาษีมรดก

แชร์บทความนี้

 

สรรพากรระบุ การใช้ช่องโหว่ของกฎหมายที่ยกเว้นภาษีการโอนสินทรัพย์จากบุคคลธรรมดาไปยังนิติบุคคลเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีมรดก ถือว่า ได้ไม่คุ้มเสียเพราะที่สุดแล้ว สินทรัพย์ดังกล่าวจะถูกเก็บภาษีจากกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกปี

 

         นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงกรณีที่ขณะนี้มีกระแสข่าวว่า ขณะนี้ มีการใช้โหว่ของกฎหมายการยกเว้น ภาษีการโอนทรัพย์สินบุคคลธรรมดาไปเป็นนิติบุคคล เพื่อใช้หลบเลี่ยงการเสียภาษีมรดกว่า ช่องทางดังกล่าว แม้จะหลบเลี่ยงการเสียภาษี มรดกได้ แต่ก็ยังหนีไม่พ้นที่จะต้องมีภาระจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ(สนช.)

 

         การเสียภาษีมรดกนั้น จะเสียเพียงครั้งเดียว และในอัตราที่ต่ำ กล่าวคือ มรดกที่ได้รับมา หากไม่เกิน 100 ล้านบาท จะไม่มีภาระภาษีโดยกรมสรรพากรจะคิดภาษี เฉพาะมรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทเท่านั้น โดยคิดในอัตรา 10% แต่หากผู้รับมรดก เป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดาน จะเสียภาษีเพียง 5% แต่หากโอนทรัพย์สินอันเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปไว้กับบริษัทแล้ว ก็จะต้องมีภาระในการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกปี "บุคคลที่ต้องการโอนอสังหาริมทรัพย์ ไปยังนิติบุคคล ด้วยข้อยกเว้นภาษีดังกล่าวซึ่งต้องการสร้างต้นทุนไว้คอยในอนาคต และต้องการหลบเลี่ยงภาษีมรดกผมว่า เขามองไม่ครบ โดยมองถึงภาษีมรดกไปด้วย เพราะเราต้องปิดช่องอยู่แล้วโดยต้องไม่ลืมว่าต้องมีภาระจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกปี เพราะเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการธุรกิจ"

 

         ก่อนหน้านี้กรมสรรพากร ได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 4 เมื่อเดือน มี.ค.2560ว่า ด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษี มูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีที่บุคคล ต้องการโอนทรัพย์สินในกิจการ ธุรกิจ ไปยังบริษัทนิติบุคคล ซึ่งถือเป็นมาตรการ ส่งเสริมให้บุคคล เข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อให้เข้าสู่ระบบภาษีที่ถูกต้อง

 

         ประกาศดังกล่าว กำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามราคาตลาด จากบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียน จัดตั้งตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค.2559-31 ธ.ค. 2560 เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น

 

         ต่อมาเดือนมิ.ย. 2560 ได้ออกประกาศฉบับที่ 5 เพิ่มเติม กำหนดให้ราคาที่รับโอนใช้ราคาตลาด เว้นแต่ทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ต้องโอนด้วยราคาประเมินทุนทรัพย์ (ราคาประเมินที่ใช้เสีย ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม) ทั้งนี้กรมสรรพากรอยู่ระหว่างการแก้ไข ประมวลรัษฎากร ในมาตรา 49 ทวิที่กำหนดให้ ใช้ราคาประเมิน(ของกรมธนารักษ์) เป็นฐาน ในการประเมินภาษี เช่น แม้ราคาซื้อขายที่ดิน จะอยู่ที่ 50 ล้านบาท แต่ราคาประเมินที่ดินแปลงนั้นที่ 10 ล้านบาท จะต้องประเมินภาษี จากรายได้ที่ 10 ล้านบาทเท่านั้นซึ่งการแก้ไข ใหม่อยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการ กฤษฎีกานั้น จะใช้ราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

 

แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... อ่านต่อ...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... อ่านต่อ...

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... อ่านต่อ...

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... อ่านต่อ...