ทุบสถิติ "รถไฟสายสีแดง" งบบานปลาย 4 รอบเฉียดแสนล้าน

แชร์บทความนี้

ในที่สุด "รัฐบาล คสช." กดปุ่มไฟเขียวกรอบค่าก่อสร้างให้กับรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต"ระยะทาง 26 กม.ที่รีวิวมาใหม่อีกครั้งเป็นที่เรียบร้อยครบถ้วนทั้งโครงการ จากกรอบเดิม 75,548 ล้านบาท เป็น 93,950 ล้านบาท เบ็ดเสร็จเพิ่มขึ้น 18,402 ล้านบาท ในรอบระยะเวลา 6 ปี

การปรับครั้งล่าสุดนับเป็นรอบที่ 4 ที่รถไฟฟ้าสีนี้ขยับวงเงินลงทุน จากครั้งแรกในปี 2552 "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ปรับเพิ่มวงเงินก่อสร้างจากเดิมอยู่ที่ 59,888 ล้านบาท มาอยู่ที่ 75,548 ล้านบาท เพราะแบบก่อสร้างฉบับเดิมที่บริษัทที่ปรึกษาคำนวณไว้ผ่านมาหลายปี ไม่สอดคล้องกับต้นทุนในขณะนั้น


จากนั้นปี 2555 ขยับเป็นครั้งที่ 2 เพิ่มเป็น 80,375 ล้านบาท ผลพวงมาจากผู้รับเหมาก่อสร้างที่ชนะประมูลเสนอราคามาเกินจากกรอบราคากลาง "ร.ฟ.ท." จึงขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มอีก 4,827 ล้านบาทแยกเป็น

สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงของ "กลุ่มกิจการร่วมค้า SU" (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ) จาก 27,344 ล้านบาท เป็น 30,078 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างโยธาและสถานีของ "บมจ.อิตาเลียนไทย" จาก 18,861 ล้านบาท เป็น 21,406 ล้านบาท และ

สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมรถไฟฟ้า จาก 26,272 ล้านบาท เป็น 28,899 ล้านบาท


ถัดมาครั้งที่ 3 ในปี 2558 ยุค "รัฐบาล คสช." ขอเพิ่มอีก 8,104 ล้านบาท หลังปรับแบบก่อสร้าง"สถานีกลางบางซื่อ" ส่วนของชานชาลาสถานีและโครงการทางให้รองรับกับรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในอนาคต


ซึ่ง "ร.ฟ.ท." เพิ่มค่าก่อสร้างให้สัญญาที่ 1 จำนวน 4,291 ล้านบาท จากเดิม 29,826 ล้านบาท เป็น 34,118 ล้านบาท สัญญาที่ 2 จำนวน 3,340 ล้านบาท จากเดิม 21,235 ล้านบาท เป็น 24,575 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างรางวิ่งสำหรับรถไฟฟ้าเพิ่ม 1 ราง จากเดิมออกแบบไว้ 3 ราง เป็น 4 ราง และสัญญาที่ 3 ทาง "ร.ฟ.ท." จัดสรรเม็ดเงินเผื่อไว้จำนวน 473 ล้านบาท


ล่าสุดหลังผลเจรจาการประมูลสัญญาที่ 3 กับกลุ่มร่วมค้า MHSC (มิตซูบิชิเฮฟวี่-ฮิตาชิ-สุมิโตโม) ผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นจนได้ราคาสุดท้ายที่ 32,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,743 ล้านบาท จากกรอบเดิมกำหนดไว้ 25,656 ล้านบาท


ในนี้มีวงเงินสำหรับติดตั้งระบบและจัดหารถสำหรับสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-ตลิ่งชัน" ระยะทาง 15 กม.รวมอยู่ด้วย 5,857 ล้านบาท ที่ผูกรวมอยู่กับงานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าของสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต"


โดย "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติเป็นที่เรียบร้อย เตรียมเซ็นสัญญาเร็ว ๆ นี้ และเริ่มงานได้กลางปีนี้เป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 48 เดือน จะแล้วเสร็จปี 2562 หรืออย่างช้าปี 2563


ข้อมูลจาก prachachat.net
แชร์บทความนี้

บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... อ่านต่อ...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... อ่านต่อ...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... อ่านต่อ...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... อ่านต่อ...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...