กทม.ลุยรถไฟฟ้า 'บางนา-สุวรรณภูมิ' BTS ลุ้นชิงสัมปทาน 2.7 หมื่นล้าน

แชร์บทความนี้

ผลการศึกษาแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2556 โครงการรถไฟฟ้าขนาดเบาหรือไลต์เรลสายบางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 18.3 กม. ที่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ผลักดันมาหลายปี มีความคืบหน้าล่าสุด ณ มิ.ย. 2561 กทม.กำลังลุ้นให้ผ่านการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ซึ่งอยู่ในขั้นของการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ยังไม่รู้ถึงสิ้นปีนี้จะได้รับไฟเขียวหรือไม่

 

แต่เพื่อให้โครงการเดินหน้าเร็วขึ้น กทม. ทำรายละเอียดเอกสารให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนคู่ขนานไปด้วย เป็นรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 30 ปี เพื่อลดภาระงบประมาณ ซึ่งโมเดลนี้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจร(คจร.) ที่มี “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อปีที่แล้ว

ทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 27,892 ล้านบาท ตลอดระยะทาง มี 14 สถานี แบ่งก่อสร้าง 2 ระยะ ในระยะแรกสร้างจาก “แยกบางนา-ธนาซิตี้” จำนวน 12 สถานีและระยะที่ 2 จาก “ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิด้านใต้” จำนวน 2 สถานี ตลอดเส้นทางมีจุดต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีบางนากับสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรงที่สถานีวัดศรีเอี่ยม

 

รูปแบบก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับบนแนวถนนบางนา-ตราด ซึ่งกรมทางหลวง (ทล.)ได้อนุมัติให้เข้าใช้พื้นที่แล้ว สำหรับจุดที่ตั้งสถานี เริ่มจาก “สถานีบางนา” อยู่ใกล้สี่แยกบางนามีสกายวอล์กเดินเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสฝั่งอาคารไบเทค ระยะทางประมาณ 550 เมตร

 

“สถานีประภามนตรี” อยู่ใกล้โรงเรียนนานาชาติเบิร์คลีย์และเยื้องกับโรงเรียนประภามนตรี “สถานีบางนา-ตราด 17” อยู่ปากซอยบางนา-ตราด 17 และยังเป็นซอยที่เชื่อมไปยังอุดมสุข 42

 

“สถานีบางนา-ตราด 25” ใกล้ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีและเซ็นทรัลบางนา “สถานีวัดศรีเอี่ยม” จะสร้างคร่อมทางแยกต่างระดับวัดศรีเอี่ยม และรองรับกับสายสีเหลือง “สถานีเปรมฤทัย” อยู่ตรงข้ามกับอาคารเนชั่น

 

 

“สถานีบางนา-กม.6” อยู่บริเวณกม.6 “สถานีบางแก้ว”อยู่ตรงด่านบางแก้ว เลยไปเป็น “สถานีกาญจนาภิเษก” อยู่ตรงข้ามกับเมกะบางนา “สถานีวัดสลุด” อยู่เยื้องกับซอยวัดสลุดกับห้างบุญถาวร “สถานีกิ่งแก้ว” อยู่หน้าตลาดกิ่งแก้ว

 

ปิดท้ายสถานีสุดท้ายของเฟสแรก “สถานีธนาซิตี้” อยู่หน้าหมู่บ้านธนาซิตี้ จะอยู่ใกล้กับอาคารโรงจอดและซ่อมบำรุง(เดโป้) ที่จะขอใช้พื้นที่ว่าง 29 ไร่

 

ด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ก่อสร้าง สำหรับ 2 สถานีที่จะสร้างในอนาคตมี “สถานีมหาวิทยาลัยเกริก” และ “สถานีสุวรรณภูมิใต้” อยู่ภายในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิส่วนด้านใต้

 

ส่วนระยะเวลาก่อสร้างเนื่องจากไม่มีการเวนคืนที่ดิน คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน 3 ปี นับจากเริ่มตอกเข็ม

ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ของบริษัทที่ปรึกษา ในปีแรกเปิดบริการจะมีปริมาณผู้โดยสาร 42,720 เที่ยวคนต่อวัน ขณะที่อัตราค่าโดยสารเก็บตามระยะทาง เริ่มต้น 12 บาท และเก็บเพิ่มกิโลเมตรละ 2 บาท

แต่เพื่อเป็นการจูงใจให้คนมาใช้บริการมากขึ้น ทางที่ปรึกษามีทางเลือกเป็นออปชั่นเสริมให้ กทม.พิจารณา คิดค่าโดยสารราคาเดียวในอัตรา 20 บาทตลอดสาย

 

ถึงจะยังไม่ได้ฤกษ์ตอกเข็มที่แน่นอน แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา รถไฟฟ้าสายนี้เป็นที่เฝ้ารอของภาคเอกชนที่เข้าไปลงทุนในย่านบางนา

 

ไม่ว่าตระกูลอัมพุชที่จะลงทุนศูนย์การค้าขนาดยักษ์ “แบงค็อก มอลล์” รวมถึง “คีรี กาญจนพาสน์” เจ้าพ่อรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งก็สนใจไม่น้อย และบันทึกโครงการนี้ไว้ในบัญชีที่เจ้าพ่อบีทีเอสจะร่วมประมูลมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดธุรกิจทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ตอนนี้ต่อขยายไปถึงสมุทรปราการและพลิกฟื้นที่ดินย่านบางนายังเหลืออยู่ในมืออีกหลาย 100 ไร่ให้คึกคัก

 

ตอนนี้ทุกอย่างพร้อม รอแค่ “กทม.” กดปุ่มโครงการเท่านั้นเอง

ข้อมูลจาก: prachachat.net
แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

ซื้อที่ดินทำเกษตร ในวัยเกษียณ ต้องดูอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรเพื่อการดำรงชีพ การดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก หรือเพียงแค่งานอดิเรก การซื้อที่ดินเพื ... อ่านต่อ...

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง (พร้อมตัวอย่าง)

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน มีความสำคัญมาก หลังจากที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงราคาได้เรียบร้อย และอาจจะกำลังวางเ ... อ่านต่อ...

เทคนิคการถ่ายภาพอสังหาฯ ด้วยมือถือ ดึงดูดผู้ซื้อ เมื่อลงประกาศขาย

ประกาศที่มีรูปภาพสวยกว่า มักจะได้รับความสนใจจากผู้ซื้อมากกว่า ดังนั้น รูปภาพอสังหาฯ จึงมีความสำคัญอย ... อ่านต่อ...

บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝด แตกต่างกันยังไง เลือกแบบไหนดี

ผู้ที่กำลังซื้อบ้าน อาจจะสงสัยว่า บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝดแตกต่างกันยังไง และควรเลือกแบบไหนดี เมื่อซื้ ... อ่านต่อ...

คำศัพท์อสังหาฯ ที่เราควรรู้ เมื่อซื้อขายอสังหาฯ

เมื่อคุณเริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดอสังหาฯ อาจจะกำลังมองหา ซื้อคอนโด หรือ ซื้อบ้าน หลังแรกในชีวิต คุณอาจพบเ ... อ่านต่อ...