สนช.ไฟเขียว ''ภาษีที่ดิน'' มีอะไรบ้างที่เราควรรู้ ก่อนเก็บภาษีจริง 1 ม.ค. 2563

แชร์บทความนี้

 

ล่าสุด 16 พ.ย. 2561 ที่ประชุม สนช.ได้โหวตผ่านร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ร่างกฎหมาย ในวาระที่ 2 และ 3 สองวาระรวด ด้วยคะแนนเสียง 169 : 0

ที่ประชุม สภานิติบัญญัติ (สนช.) เห็นชอบกับการแก้ไขของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. …ซึ่งมี นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน สาระสำคัญอยู่ในมาตรา 34 ซึ่งเป็นมาตราที่เกี่ยวข้องกับอัตราการจัดเก็บภาษี โดยที่ประชุมเห็นชอบกับร่างที่ กมธ.แก้ไข

 

โดยกำหนดให้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 0.15% ของฐานภาษี ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย อัตราภาษีไม่เกิน 0.3% ของฐานภาษี (ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากประกอบเกษตรกรรม หรือที่อยู่อาศัย เก็บไม่เกิน 1.2% ของฐานภาษี และที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัตราภาษีไม่เกิน 3%

 

อย่างไรก็ตาม มีสมาชิก สนช.แสดงความเป็นห่วงถึงอัตราการจัดเก็บภาษีจะทำให้เป็นภาระกับเกษตรกรและประชาชน แต่นายวิสุทธิ์ชี้แจงว่า จากการสำรวจพบว่าเกษตรกรรายย่อย 99.96 เปอร์เซ็นต์ จะไม่ถูกเก็บภาษี และช่วง 3 ปีแรกจะไม่เข้าข่ายการเก็บภาษีเลย ส่วนที่เป็นเกษตรกรรายใหญ่ซึ่งทำธุรกิจด้วย จะเก็บตั้งแต่บาทแรก เช่น เกษตรกรรายใหญ่ที่มีที่ดิน 200 ไร่ เสีย 6 หมื่นบาท แต่สามารถเอาภาระไปหักค่าลดหย่อนได้

 

ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่การจัดเก็บภาษีจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป ในอัตราดังต่อไปนี้

 

1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษีไม่เกิน 0.15% ของฐานภาษี   

2.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัยไม่เกิน 0.03%

3.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากข้อ 1, 2 ไม่เกิน 0.2%

4.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามความแก่สภาพ ไม่เกิน 3% ของฐานภาษี

อย่างไรก็ตาม ได้กำหนดบทเฉพาะกาลการจัดเก็บภาษีช่วง 2 ปีแรก ดังนี้

 

1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม

หากมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 75 ล้านบาท เก็บภาษี 0.01%

เกิน 75 ล้านบาท - 100 ล้านบาท จัดเก็บ 0.03%

เกิน 100 ล้านบาท - 500 ล้านบาท เก็บ 0.05%

เกิน 500 ล้านบาท - 1,000 ล้านบาท เก็บ 0.07%

เกิน 1,000 ล้านบาท เก็บ 0.1%

 

2.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของบุคคลธรรมดาให้เป็นที่อยู่อาศัยมีชื่อในทะเบียนบ้าน

ไม่เกิน 25 ล้านบาท จัดเก็บ 0.03%

เกิน 25 ล้านบาท - 50 ล้านบาท เก็บ 0.05%

เกิน 50 ล้านบาทขึ้นไปเก็บ 0.1%

 

3.สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน

มูลค่าไม่เกิน 40 ล้านบาท ภาษี 0.02%

เกิน 40 ล้านบาท- 65 ล้านบาท เก็บ 0.03%

เกิน 65 ล้านบาท - 90 ล้านบาท เก็บ 0.05%

เกิน 90 ล้านบาทขึ้นไปเก็บ 0.1%

 

4.ที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกจากอยู่อาศัยตามข้อ 2 และ 3

ไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.02%

เกิน 50 ล้านบาท - 75 ล้านบาท เก็บ 0.03%

เกิน 75 ล้านบาท - 100 ล้านบาท เก็บ 0.05%

เกิน 100 ล้านบาท จัดเก็บ 0.1%

 

5.ที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมและอยู่อาศัย

ไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.03%

เกิน 50 ล้านบาท - 200 ล้านบาท เก็บ 0.4%

เกิน 200 ล้านบาท - 1,000 ล้านบาท เก็บ 0.5%

เกิน 1,000 ล้านบาท - 5,000 ล้านบาท เก็บ 0.6%

เกิน 5 พันล้านบาทขึ้นไปเก็บ 0.7%

 

6.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ควรแก่สภาพ

เก็บภาษี 0.3-3% ของราคาประเมิน และเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี ต่อเนื่อง ไม่เกิน 27 ปี หรือจนกว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน และจากข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินพบว่ามีที่ดินทิ้งไว้ไม่ได้ทำประโยชน์ทั่วประเทศ 8.31 ล้านไร่ จากที่ดินทั้งประเทศประมาณ 300 ล้านไร่

 

เพื่อบรรเทาภาระภาษี 3 ปีแรก ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม นอกจากนี้ กรณีต้องเสียภาษีสูงกว่าภาษีโรงเรือน หรือภาษีบำรุงท้องที่ ให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีในจำนวนที่เพิ่มขึ้นในปีที่หนึ่ง 25% ของจำนวนภาษีที่เหลือ ปีที่สอง 50% และปีที่สาม 75% ของจำนวนภาษีที่เพิ่มขึ้น

ข้อมูลจาก: prachachat.net
แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

6 ฟีเจอร์ในบ้านยุคใหม่ ที่ผู้ซื้อมองหา

ความต้องการของผู้ซื้อบ้านในยุคปี 2024 นี้ ก็แตกต่างจากยุคสมัยก่อน ดังนั้น เราจึงตรงปรับฟังก์ชั่นการใ ... อ่านต่อ...

ซื้อที่ดินทำเกษตร ในวัยเกษียณ ต้องดูอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรเพื่อการดำรงชีพ การดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก หรือเพียงแค่งานอดิเรก การซื้อที่ดินเพื ... อ่านต่อ...

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง (พร้อมตัวอย่าง)

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน มีความสำคัญมาก หลังจากที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงราคาได้เรียบร้อย และอาจจะกำลังวางเ ... อ่านต่อ...

เทคนิคการถ่ายภาพอสังหาฯ ด้วยมือถือ ดึงดูดผู้ซื้อ เมื่อลงประกาศขาย

ประกาศที่มีรูปภาพสวยกว่า มักจะได้รับความสนใจจากผู้ซื้อมากกว่า ดังนั้น รูปภาพอสังหาฯ จึงมีความสำคัญอย ... อ่านต่อ...

บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝด แตกต่างกันยังไง เลือกแบบไหนดี

ผู้ที่กำลังซื้อบ้าน อาจจะสงสัยว่า บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝดแตกต่างกันยังไง และควรเลือกแบบไหนดี เมื่อซื้ ... อ่านต่อ...