ไม่เห็น ไม่ใช่ปลอดภัย! มาดูวิธีปกป้องคนในบ้านจาก PM 2.5 เมื่อคุณภาพอากาศแย่ลง

แชร์บทความนี้

ช่วงนี้ ค่าฝุ่น PM 2.5 กลับขึ้นมาพุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในหลากหลายพื้นที่ ทั้ง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก   


PM 2.5 คืออะไร  

Particulate Matter (PM) คือ สิ่งที่พบเจอในอากาศ รวมถึงฝุ่น เศษ เขม่า ควัน ละออง ต่างๆ โดย PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กน้อยกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและจมูกของเราก็ไม่สามารถกรองได้ ทำให้ฝุ่นละอองนี้สามารถเข้าไปยังระบบทางเดินหายใจ ปอด และอาจซึมไปถึงหลอดเลือดผ่านการสูดอากาศเหล่านี้เข้าไปได้



PM 2.5 เกิดจากอะไร  

PM 2.5 เกิดได้ทั้งจากควันจากท่อไอเสียของรถยนต์และมอเตอร์ไซต์ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้เชื้อเพลิง ปิโตรเลียมและถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า การขุดเจาะในการก่อสร้าง รวมไปถึง การสูบบุหรี่ จุดธุป เผากระดาษ จุดพลุ เป็นต้น


ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร 

ความน่ากลัวของฝุ่น PM 2.5 คือเราไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า ทำให้เราขาดการตระหนักรู้ โดยเมื่อเราสูดเอาฝุ่นควัน PM 2.5 เข้าร่างกาย เจ้าฝุ่นนี้สามารถเข้าถึงทางเดินหายใจและปอดได้ง่ายและรวดเร็ว ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ป่วยโรคหอบหืด และอาจเป็นสาเหตุให้คนปกติเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและปอด มีอาการแสบสมูก ไอ จาม มีเสมหะ หอบหืด เมื่อสะสมเป็นเวลานาน อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอดได้ 


นอกจากนี้ การสูดรับฝุ่นพิษสะสมเป็นเวลาหนึ่ง ส่งผลให้เกิดตะกอนภายในหลอดเลือด เกิดหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองตีบได้ รวมถึงความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดในสมอง 


กลุ่มเสี่ยงในภาวะคุณภาพอากาศแย่ คือ "เด็กเล็ก" ที่มีภูมิคุ้มกันโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่ ฝุ่นควันเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ทางเดินหายใจและกระแสเลือดก็ขัดขวางการเจริญเติบโต และทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ และ "หญิงมีครรภ์" ที่อาจส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนด แท้ง ฯลฯ "ผู้สูงอายุ" เมื่อภูมิคุ้มกันลงดลงอาจมีแนวโน้มต่อโรคหัวใจและหอบหืด และ "ผู้ที่มีโรคประจำตัว" เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ โรคปอด และโรคหัวใจชนิดต่างๆ จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงฝุ่นควัน


ตารางด้านล่างนี้ช่วยทำให้เราเข้าใจมากขึ้นเดี่ยวกับระดับของ PM 2.5 ที่อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของเรา และคำแนะนำที่คุณควรปฏิบัติ ตารางนี้นำมาจาก ระดับค่า PM 2.5 เทียบกับดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ Air Quality Index (AQI) โดย U.S. Environmental Protection Agency


วิธีปกป้องคนในบ้านจากคุณภาพอากาศที่แย่ 


1. ตรวจเช็คดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)  

เช็คตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูคุณภาพอากาศในแต่ละวัน องค์กรอนามัยโลก (WHO) แนะนำค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศไม่ควรเกิน 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับค่าเฉลี่ยในระยะเวลา 24 ชม. 


ค่า PM 2.5 ที่เกินกว่า 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและปอด และหากเราอยู่ในอากาศที่มีค่า PM 2.5 เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไปได้ 


2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง เมื่อมีค่าฝุ่น PM 2.5 มาก 

การออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น การวิ่ง การตีกอลฟ์ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 ขึ้นสูงเกินค่ามาตรฐาน  


3. สวมใส่หน้ากากเมื่อต้องออกไปข้างนอก

หากมีเหตุที่จำเป็นต้องเดินทาง หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรสวมใส่หน้ากากที่สามารถคัดกรองฝุ่นได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน หรือ หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า ที่ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ด้วย


4. เปิดเครื่องกรองอากาศในบ้านและปิดหน้าต่างประตูให้มิดชิด

เมื่อคุณอยู่ในบ้าน ปิดประตูหน้าต่างเพื่อไม่ให้อากาศไม่ดีเข้ามาในบ้าน และเปิดเครื่องกรองอากาศ ช่วยกำจัดฝุ่นละอองในห้อง และเพิ่มคุณภาพของอากาศภายในบ้านโดยรวม เราควรเลือกซื้อเครื่องกรองอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งาน ขนาดของห้อง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการใช้เครื่องกรองอากาศ


5. ลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นควัน และหมั่นทำความสะอาดบ้าน

ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนนและควรตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำเพื่อลดการเกิดควันดำ ลดการเผากระดาษ จุดธูป เผาใบไม้ รวมไปถึงทำความสะอาดบ้านโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเพื่อเช็คทำความสะอาดบ่อยๆ เป็นลดการเกิดฝุ่นในบ้าน  




แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... อ่านต่อ...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... อ่านต่อ...

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... อ่านต่อ...

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... อ่านต่อ...