เปิดข้อมูลและเส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ก่อนเปิดทดลองใช้ฟรี 21 พ.ย. 2566 นี้!

แชร์บทความนี้

หลังตรวจสอบความพร้อม “รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู” ไปเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน เพื่อเตรียมการต้อนรับนายกรัฐมนตรี จะมาร่วมทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าในช่วงบ่ายของวันที่ 21 พ.ย.​ 66 หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ครม. จะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และเปิดทดสอบเดินรถเสมือนจริง


และให้ประชาชนทดลองนั่งฟรีตลอดเส้นทางครบทั้ง 30 สถานีในเวลาถัดไป ซึ่งอยู่ระหว่างการรอยืนยันอย่างเป็นทางการอีกครั้ง 


บ้านไฟน์เดอร์พาดูข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่น่าสนใจ ระหว่างรอการเปิดใช้บริการได้จริง กันเลย! 


ข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพู


รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นโครงการรถไฟฟ้า ประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ โมโนเรล แบบยกระดับตลอดเส้นทางเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงพื้นที่กรุงเทพฯ โซนเหนือ โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่ถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 รวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีสถานีรับส่งผู้โดยสารรวม 30 สถานี 


รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดใช้บริการ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. พูดถึงความคืบหน้า ณ เดือนตุลาคม 2566 โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ มีความก้าวหน้างานโยธาร้อยละ 98.30 งานระบบรถไฟฟ้า (M&E) ร้อยละ 99.24 ความก้าวหน้ารวมร้อยละ 98.78 โดย รฟม. ได้กำกับดูแลการดำเนินงานของผู้รับสัมปทาน รวมถึงการทดสอบการเดินรถในแต่ละระยะอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ และคาดว่ารถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ จะสามารถเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในเดือนธันวาคม 2566 มีค่าโดยสาร 15-45 บาทโดยประมาณ


รถไฟฟ้าสายสีชมพู 30 สถานี มีอะไรบ้าง 


1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 

2. สถานีแคราย 

3. สถานีสนามบินน้ำ 

4. สถานีสามัคคี 

5. สถานีกรมชลประทาน 

6. สถานีแยกปากเกร็ด 

7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด 

8. สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 

9. สถานีศรีรัช 

10. สถานีเมืองทองธานี 

11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14 

12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 

13. สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ 

14. สถานีหลักสี่ 

15. สถานีราชภัฏพระนคร 

16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ 

17. สถานีรามอินทรา 3 

18. สถานีลาดปลาเค้า 

19. สถานีรามอินทรา กม.4 

20. สถานีมัยลาภ 

21. สถานีวัชรพล 

22. สถานีรามอินทรา กม.6 

23. สถานีคู้บอน 

24. สถานีรามอินทรา กม.9 

25. สถานีวงแหวนรามอินทรา 

26. สถานีนพรัตน์ 

27. สถานีบางชัน 

28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ 

29. สถานีตลาดมีนบุรี และ

30. สถานีมีนบุรี 


โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงฯ และจุดจอดแล้วจร (Park and ride) บริเวณสถานีมีนบุรี พร้อมทั้งมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สายหลัก ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีมีนบุรี รถไฟชานเมือง สายธานีรัถยา (ช่วงบางซื่อ - รังสิต) ที่สถานีหลักสี่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 


จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู 


1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) สายสีชมพู เชื่อมต่อกับ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ของ MRT สายสีม่วง 

สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สายสีชมพู เชื่อมต่อกับ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PP11) ของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) โดยเป็นการเชื่อมต่อประเภท Unpaid to Unpaid Area ระหว่างชั้นออกบัตรโดยสาร (Concourse Level) ของสองสถานี มีทางเดินเชื่อมต่อ (Skywalk) และทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Walkalator) ระยะทางประมาณ 346 เมตร


2. สถานีหลักสี่ (PK14) สายสีชมพู เชื่อมต่อกับ สถานีหลักสี่ (RN06) ของรถไฟฟ้าสายสีแดง

สถานีหลักสี่ สายสีชมพู เชื่อมต่อกับ สถานีหลักสี่ (RN06) ของรถไฟชานเมือง สายธานีรัถยา (ช่วงบางซื่อ - รังสิต) ในการกำกับของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยเป็นการเชื่อมต่อประเภท Unpaid to Unpaid Area จากชั้นออกบัตรโดยสารของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฯ ที่ระดับดิน ใช้สะพานลอยคนข้ามไปยังชั้นออกบัตรโดยสารของรถไฟชานเมือง สายธานีรัถยา (ช่วงบางซื่อ - รังสิต) มีระยะทางเดินเชื่อมต่อประมาณ 180 เมตร 


3. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (PK16) สายสีชมพู เชื่อมต่อกับ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (N17) ของ BTS สายสีเขียว   

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สายสีชมพู เชื่อมต่อกับ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (N17) ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต เป็นการเชื่อมต่อประเภท Paid to Paid Area


4. สถานีมีนบุรี (PK30) สายสีชมพู เชื่อมต่อกับ สถานีมีนบุรี ของ รถไฟฟ้าสายสีส้ม

สถานีมีนบุรี สายสีชมพู เชื่อมต่อกับสถานีมีนบุรี ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 


ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู วิ่งเข้า IMPACT ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี  


ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อ รถไฟฟ้าสายสีชมพู สายหลัก ที่สถานีเมืองทองธานี (PK10) เข้าสู่ซอยแจ้งวัฒนะ - ปากเกร็ด 39 ไปสิ้นสุดที่บริเวณทะเลสาบในเมืองทองธานี จะประกอบไปด้วย 2 สถานีส่วนต่อขยายคือ  


1. สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01) 

2. สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02) 


มีระยะทางโดยประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบัน (ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2566) มีความก้าวหน้างานโยธาร้อยละ 41.76 งานระบบรถไฟฟ้า (M&E) ร้อยละ 23.34 ความก้าวหน้ารวมร้อยละ 35.56 




ข้อมูลจาก: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
แชร์บทความนี้

บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

เขียนสัญญาเช่าอย่างไรให้รัดกุม

สำหรับเจ้าของบ้านเช่า อีกสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียม เมื่อมีผู้สนใจเช่าบ้านของคุณ นั่นก็คือ การทำสัญญาเช่ ... อ่านต่อ...

ปล่อยบ้านให้เช่า ต้องทำอย่างไรบ้าง เริ่มยังไงดี

สำหรับเจ้าของบ้าน ที่มีบ้านว่าง อาจจะเริ่มสนใจการปล่อยบ้านให้เช่า เพื่อเพิ่มรายได้ แต่ไม่แน่ใจว่าต้อ ... อ่านต่อ...

วิธีรับมือและป้องกันบ้านเมื่อเกิดน้ำท่วม

น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน การเตรียมตัวแล ... อ่านต่อ...

5 คำแนะนำสำหรับผู้เช่าที่มีสัตว์เลี้ยงในเมื่อหาบ้านเช่า

การหาบ้านเช่าสำหรับผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงอาจเป็นเรื่องท้าทาย เพราะไม่ใช่ทุกบ้านเช่าที่จะยินดีต้อนรับสัต ... อ่านต่อ...

Rentvesting เช่าไปด้วยลงทุนซื้อไปด้วย อีกวิธีจากผู้เช่าสู่การเป็นเจ้าของบ้าน

ไม่ใช่ผู้เช่าทุกคนที่อยากจะมีบ้านเป็นของตัวเอง ต้องการจะเลิกเช่าในทำเลที่อยู่ บางคนก็เลือกที่จะเช่าอ ... อ่านต่อ...