ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินคิดอย่างไร โปรแกรมคำนวณค่าธรรมเนียมการโอนซื้อขายบ้านเบื้องต้น

ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ ซื้อขายบ้าน ที่สำนักงานที่ดิน


ก่อนที่เราจะไปโอนซื้อขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างกัน นอกจากเงินที่เตรียมไว้จากราคาตกลงซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อ ผู้ขาย ยังต้องตกลงกันในเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอากรด้วยเช่นกัน


แล้วค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการโอนซื้อขายบ้านมีอะไรบ้าง และเราจะกำหนดคร่าวๆ ได้อย่างไร วันนี้บ้านไฟน์เดอร์พามาดูวิธีการใช้โปรแกรมคำนวณภาษีอากร จากกรมที่ดิน เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอากรเบื้องต้น เพื่อที่เราจะได้เตรียมเงินไปถูกในวันที่โอนซื้อขายที่สำนักงานที่ดิน 


ค่าใช้จ่ายในการโอนซื้อขายบ้าน บุคคลธรรมดา มีอะไรบ้าง

  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของจากราคาประเมิน หรือราคาขาย แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า  
  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ตามขั้นของสรรพากร)
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน (กรณีถือครองน้อยกว่า 5 ปี และมีชื่อในทะเบียนบ้านของโฉนดที่ขายน้อยกว่า 1 ปี)
  • ค่าอากรแตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขายแต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน (ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ กรณีเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)
  • ค่าภาษีท้องถิ่น 0.3% 
  • กรณีผู้ซื้อจดจำนองกับสถาบันการเงิน มีค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จำนอง
  • ค่าคำขอ 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท


แค่เห็นก็ตาลายยแล้วใช่ไหม แต่เราสามารถคำนวณเบื้องต้นง่ายๆ ได้จากโปรแกรมของกรมที่ดินเลยนะ มาดูกันเลยว่าทำอย่างไร 



คำนวณค่าใช้จ่าย ด้วยโปรแกรมคำนวณภาษีอากร จากกรมที่ดิน 

เราสามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมและภาษีอากร ในการ ซื้อขายที่ดิน บ้าน ก่อนไปโอนที่ได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมคำนวณภาษีอากรของกรมที่ดิน


>> คลิกเข้าใช้งานคำนวณภาษีอากร กรมที่ดิน << 



ก่อนใช้งาน เตรียมข้อมูลอะไรและหาจากไหน  

เมื่อกดเริ่มต้นคำนวณค่าใช้จ่าย ระบบจะถามข้อมูล ดังนั้นคุณควรมีข้อมูลโฉนดที่จะซื้อขาย ก็จะสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้ไม่ยาก ข้อมูลที่ต้องมี ดังนี้ 


1. ราคาตกลงซื้อขาย (ราคาทุนทรัพย์)

2. เนื้อที่ดินกี่ไร่ กี่งาน กี่ตารางวา  

3. ราคาประเมินต่อตารางวา (คลิกตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยธนารักษ์

4. บนที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ 

  • ประเภทของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งนับตั้งแต่ คลังสินค้า โรงงาน ตลาด บ้าน ตึกแถว สระว่ายน้ำ ฯลฯ 
  • ปี พ.ศ. ที่ปลูกสร้าง
  • ประเภทวัสดุ เช่น ตึก ตึกครึ่งไม้ ไม้ หรือ อื่นๆ 
  • พื้นที่ของสิ่งปลูกสร้าง (ตารางเมตร) 
  • ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง (ค้นหาราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างโดยธนารักษ์ที่นี่

5. วันที่ได้มาของที่ดิน (ตรวจสอบหลังโฉนด)

6. วันที่ได้มาของสิ่งปลูกสร้าง มาพร้อมที่ดินไหม 

7. ผู้ขาย (เจ้าของโฉนด) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของโฉนดที่จะขาย เกิน 1 ปี หรือไม่

 

เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ระบบจะคำนวณภาษีอากรออกมา ตัวอย่างดังนี้ 

 


โปรแกรมนี้ มีประโยชน์มากๆ ในตลาดอสังหาฯ เพราะนอกจากจะช่วยในการทำนิติกรรมประเภทขายอสังหาฯ แล้วยังมีบริการในส่วนของ ขายฝาก จำนอง โอนมรดก ให้ และเช่า อีกด้วย ลองใช้งานกันดูได้เลย 


>> คลิกเข้าใช้งานคำนวณภาษีอากร กรมที่ดิน << 



***หมายเหตุ โปรแกรมนี้ทางกรมที่ดินแจ้งว่าไม่สามารถใช้ยืนยันต่อคู่สัญญาและกรมที่ดินได้ เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ช่วยให้ประชาชนคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น กรณีมีข้อสงสัยโปรดติดต่อสอบถามกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่



แชร์บทความนี้

ลิงค์สำหรับการแบ่งปันบทความบนเว็บอื่นๆ:

คลิก Like เลยเพื่อไม่พลาดกับบทความน่าสนใจอื่นๆ

บทความยอดนิยม

บทความใหม่ล่าสุด

รวมไอเดีย แบบห้องนั่งเล่น โทนสีขาว

ห้องนั่งเล่นโทนขาว เป็นไอเดียการออกแบบห้องนั่งเล่นสุดคลาสสิก ใช้ได้กับหลากหลายสไตล์การแต่งบ้าน นอกจา ... อ่านต่อ...

แนวทางออกแบบบ้านที่ช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดียิ่งขึ้น

คนส่วนใหญ่ใช้เวลาในบ้านมากยิ่งขึ้น จากรูปแบบการทำงานแบบ Work from Home ที่เพิ่มขึ้นในองค์กรต่างๆ รวม ... อ่านต่อ...

ทำบ้านเช่าอย่างไร สร้างรายได้แบบ Passive Income

บ้านเช่า เป็นหนึ่งในวิธีดีๆ ในการหารายได้เสริมจากบ้าน ถ้าเราเรียนรู้การปล่อยเช่าอย่างเหมาะสม เราก็สา ... อ่านต่อ...

สิงคโปร์ขึ้นภาษีซื้อบ้านของคนต่างชาติจาก 30% เป็น 60% แล้ว

สิงคโปร์กำหนดภาษีซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติใหม่ จากเดิม 30% เป็น 60% แล้ว เมื่อวันที่ 27 เมษา ... อ่านต่อ...

ไอเดียห้องครัวแบบเปิด ในบ้าน (Open Kitchen Ideas)

แบบครัวเปิดโล่งในบ้าน ข้อดีและข้อพิจารณาเมื่อทำครัวแบบเปิด (open kitchen) ในบ้านมีอะไรบ้าง พร้อมไอเด ... อ่านต่อ...