10 ข้อตรวจรับบ้านต้องเช็ค ก่อนเช็นรับบ้าน!

แชร์บทความนี้

ตรวจรับบ้าน ควรดูอะไรบ้าง

 

สำหรับมือใหม่ที่กำลังจะได้เป็นเจ้าของบ้านในไม่ช้า ขั้นตอนก่อนที่จะเข้าอยู่ก็คือการตรวจรับบ้าน หลายๆครั้ง การตรวจรับบ้าน ถูกละเลยไม่ว่าจะ ทั้งจากการที่ไม่มีเวลาเข้าไปดู หรือ ดูไปก็ไม่รู้จะดูอะไร หรือ มั่นใจว่าเจ้าของโครงการทำได้ดี แต่วันนี้บ้านไฟน์เดอร์ อยากให้คุณสละเวลาสำหรับการตรวจรับบ้าน รวมถึงศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการตรวจรับบ้าน เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องมาปวดหัวกับปัญหาที่จะต้องตามแก้ไขต่างๆทีหลังและเชื่อเถอะว่ามันจะคุ้มค่า ดังคำกล่าวที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” จริงๆ นะเออ

 

สิ่งที่ต้องเตรียม

1. ปากกา + กระดาษ สำหรับจดรายละเอียดต่างๆ ระบุถึง จุดสถานที่และตำแหน่งของปัญหา รายละเอียดของปัญหามีอะไร และ ควรจะแก้ไขอย่างไร ควรทำเป็นตาราง แบ่งข้อมูลให้ละเอียด

2. กล้อง กล้องถ่ายภาพแบบDigital ที่มีการซูมได้ดี สามารถบันทึกเก็บรายละเอียด

3. ไฟฉาย ใช้ฟ้องในบริเวณที่แสงไฟเข้าไม่ถึง เช่น ใต้อ่าง ใต้หลังคา

4. โทรศัพท์มือถือ+ที่ชาร์จ ปัจจุบันนี้ ไม่ต้องบอก ทุกคนก็น่าจะตัวติดมือถืออยู่แล้ว เพราะนอกจากจะทำหน้าที่ครอบคลุมได้ทั้ง 3 ข้อด้านบน ก็ยังเอามาลุ้นสัญญาณโทรศัพท์ตามตำแหน่งบ้าน และเอาที่ชาร์จเป็นตัวแทนอุปกรณ์ไฟฟ้าในการตรวจเช็คได้ พกง่ายด้วย

5. บันได หากอสังหาฯของคุณมีห้องใต้หลังคา หรือ เพดานสูง คุณอาจจะต้องนำบันได เพื่อตรวจสอบตำแหน่งสูงๆ ด้วย

6. เทปพันสายไฟ หรืออุปกรณ์ทำเครื่องหมายที่จะไม่ทำลายพื้นผิวของบ้าน เพื่อระบุตำแหน่งเมื่อมีการถ่ายรูปภาพให้ชัดเจน สังเกตได้ง่าย

7. ตลับเทปสายวัด เพื่อวัดขนาดต่างๆ และระบุความต้องการได้ชัดเจน

8. ลูกแก้ว ใช้ในการวัดความลาดเอียงของพื้น

9. อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่พกพาได้สะดวก และสามารถทดสอบการใช้งานของปลั๊กไฟแต่ละจุดได้

10. ถุงมือยางหรือรองเท้ายาง การเข้าตรวจสอบไฟฟ้าควรสวมใส่รองเท้ายางและถุงมือยางเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าเข้าตัว ปลอดภัยไว้ก่อน หากไม่ชำนาญด้านนี้ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ จะดีกว่า



 

เตรียมตัวตรวจรับบ้านอย่างไรดี

จำไว้ว่า “บ้านไม่พร้อมอย่าลงชื่อรับบ้าน” ไม่ว่าเซลล์จะหว่านล้อมคุณด้วยถ้อยคำใดๆ คุณต้องตรวจสอบบ้านให้ละเอียดก่อนเสมอ เพราะอำนาจในการสั่งการยังเป็นของเรา และหากพนักงานขายพูดอย่างไร ให้จดเป็นลายลักษณ์อักษร และลงชื่อกำกับเสมอ อ่าน ศึกษา สัญญาจะซื้อจะขายให้ดี

 

เวลาตรวจ: สละเวลาหนึ่งวันเต็มๆสำหรับการตรวจรับบ้าน และควรเลือกเป็นในช่วงเช้า เพราะจะได้ใช้เวลาได้เต็มที่ โดยเฉพาะหากพื้นที่บ้านของคุณมีขนาดใหญ่ ควรจะต้องใช้เวลาตรวจสอบเต็มวัน เพราะหากมาตรวจตอนเย็นๆหรือดึก จะมีแสงสว่างน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะมองเห็นข้อบกพร่องต่างๆได้ดี

 

ใครไปด้วย: การตรวจสอบรับบ้าน ไม่ควรไปคนเดียว ควรจะไปกันอย่างน้อยๆสองคน เพื่อแบ่งหน้าที่ ทั้งตรวจสอบ และบันทึกจุดที่ต้องแก้ไข และถ้าเป็นไปได้ ก็พาคนที่พอจะรู้เรื่องก่อสร้าง หรือการตรวจสอบภายในบ้าน มาช่วยดูด้่วย

 

เริ่มอย่างไร: การเริ่มตรวจสอบ ควรจะแบ่งตรวจสอบเป็นพื้นที่ เช่น สนามหน้าบ้าน สนามหลังบ้าน บริเวณรอบๆภายนอกบ้าน จากนั้นก็เข้ามาในตัวบ้าน ตรวจสอบ แต่ละพื้นที่ห้องต่างๆ ไล่ดูทุกตารางนิ้ว

 

ตรวจรับบ้านดูอะไรบ้างในเบื้องต้น

1. งานน้ำปะปา งานระบบสุขาภิบาล คุณต้องให้ทางโครงการหรือ เจ้าบ้านเปิดระบบน้ำสำหรับทดสอบไว้ก่อนเข้าไปตรวจสักหนึ่งหรือสองชั่วโมงเพื่อให้มีแรงดันน้ำให้นานที่สุด และต้องลองก็อกทุกตัวว่าน้ำไหลแรงดีหรือไม่ เมื่อปิดแล้วไม่มีน้ำหยดติ๋งๆ ทดลองการใช้งานของอุปกรณ์ สุขภัณฑ์ การกดชักโครก (คุณอาจจะลองใช้ขนมปังไร้ขอบ ทดสอบการดูดลงท่อของชักโครก) ทดสอบช่องระบายน้ำล้น ของอ่างหน้าหน้า หรือ อ้างล่างจาน โดยปิดอุดสะดือ และปล่อยน้ำไหล เมื่อเอ่อเกือบล้น ให้ดูช่องการระบายด้านข้างเป็นอย่างไร แล้วปล่อยน้ำออกทันที ถ้าน้ำไหลไม่สะดวก เกิดเสียงดังปุดๆ สันนิษฐานได้ว่าไม่มีท่ออากาศ ท่ออากาศอุดตัน หรือทำท่ออากาศเล็กเกินไป

 

2. การระบายของท่อน้ำ ให้ลองเอาน้ำมาราด หรือฉีดน้ำให้ทั่วพื้นที่ แล้วสังเกตดูทิศทางการระบายน้ำ ว่าไหลลงสู่ท่อระบายน้ำหรือไม่ ความลาดเอียงของพื้นเพียงพอให้น้ำระบายได้อย่างสะดวกหรือเปล่า ผิวพื้นยุบตัวเกิดเป็นแอ่งน้ำขังหรือไม่ หากเกิดอาการที่ว่าก็ควรแก้ไข อนุโลมไม่ได้

 

3. ระบบไฟ ให้เปิดทุกดวงทั้งในและนอกบ้าน เพื่อตรวจดูว่าสามารถใช้งานได้ครบทุกดวงหรือไม่ ทดลองใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อดูการทำงาน สำหรับสวิตช์ไฟฟ้าให้ลองเปิด ปิด ไฟทุกดวง ใช้งานเป็นอย่างไร เตรียมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กได้ไปด้วย อย่างเช่น ที่ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ เพื่อทดสอบว่ามีกระแสไฟฟ้าใช้งานได้จริง รวมถึงกดกริ่งหน้าบ้านด้วย และต้องเป็นรุ่นที่มียางกันน้ำหรือกล่องครอบกันน้ำ เพราะหากกริ่งโดนฝนสาด อาจจะเกิดไฟฟ้า่ลัดวงจรได้


4. พื้น ตรวจสอบด้วยการการสังเกต และการสัมผัส เช่นว่าพื้นผิวเรียบดี ไม่มีสะดุด หรือแอ่น และโก่งตัวที่อาจมีสาเหตุมาจากโครงสร้าง พื้นผิวควรเป็นแบบเรียบเพราะส่วนใหญ่เราถอดรองเท้าเดินในบ้าน ดูว่าหากพื้นมีการะบายน้ำในส่วนเปียก น้ำจะต้องลงท่อ ไม่เกิดเป็นแอ่ง อาจจะนำลูกแก้วมาลองวางเพื่อเช็คความลาดเอียงของพื้นได้ แต่สู้การเทน้ำตรวจดูจริงๆไม่ได้ เช็ควัสดุปูพื้นต้องแน่น สามารถทำการใช้เหรียญสิบบาทเคาะตามแต่ละกระเบื้องทุกแผ่น ว่ามีเสียงสะท้อนกลับมาก้องมากกว่ากระเบื้องแผ่นอื่นๆให้ทำเครื่องหมายไว้ได้เลย เพราะถ้าวัสดุปูพื้นทำไม่ดี จะมีปัญหาแตกจากการใช้งานภายหลังได้ง่าย

 

5. ผนัง ตรวจสอบรอยแตกร้าวบนผนังให้ละเอียด ผนังที่มีลักษณะเหมือนการแตกลายงาที่พื้นผิว ซึ่งเกิดจากการแยกตัวของปูนฉาบที่แห้งไม่สม่ำเสมอกัน สามารถแก้ไขได้ด้วยการโป๊สี บางรอยเกิดจากปูนฉาบล่อน เพราะไม่เกาะตัวกับวัสดุก่อผนัง วิธีแก้ไขคือ การสกัดปูนฉาบหน้าออกแล้วฉาบทับใหม่ แต่งสีให้เหมือนเดิม

 

6. ฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานต้องเรียบและได้ระดับเสมอกันตลอดทั้งห้อง รอยต่อของตัววัสดุจะต้องได้แนวได้ฉาก แผ่นฝ้าไม่เป็นริ้วคลื่นจนขาดความสวยงาม เว้นระยะห่างให้เท่ากันโดยตลอด ฝ้าเพดานที่ปิดโครงหลังคา จะต้องสังเกตดูว่ามีร่องรอยน้ำรั่วมาจากหลังคาหรือไม่ ถ้ามีก็ควรบอกให้ช่างแก้ไข หาสาเหตุของน้ำรั่วซึม

7. งานสี ให้ดูที่ความสม่ำเสมอของเนื้อสี ความกลมกลืน สม่ำเสมอ ไม่มีรอยด่าง เนื้อสีไม่ลอกหลุดล่อนหรือปูดโปน สีเคลีอบด้วยfinish ที่ต้องตามการใช้งาน




8. ประตู หน้าต่าง ตรวจดูอุปกรณ์ที่มีการเปิดปิดได้ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ ทั้งมือจับ บานพับ กลอนประตู หน้าต่าง ติดตั้งได้เรียบร้อยหรือไม่ ตำแหน่งในการติดตั้งต้องถูกต้อง ได้แนวได้ระดับดูสวยงาม ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งจนใช้งานลำบาก การเจาะรูกลอนประตู หน้าต่างต้องเรียบร้อย ไม่ฉีกหรือแหว่ง


ตำแหน่งของรูกลอนต้องพอดีกับกลอน ไม่หลวมหรือฟิตจนเกินไป ต้องลองใช้งานให้ประตู หน้าต่างทุกบานปิด เปิดได้สะดวก ไม่ติดขัดหรือเกิดเสียงดังขณะใช้งาน กลอนและกุญแจทุกตัวใช้งานได้จริง ลูกฟักบนบานประตูได้ดิ่ง ได้ฉาก ได้ระดับ ขนาดของกรอบบานลูกฟักเจาะเป็นช่องขนาดเท่ากัน


เมื่อปิดประตู หรือ หน้าต่าง ต้องเสมอวงกบ ไม่มีช่องแยกที่สังเกตได้ชัดเจน ตรวจสอบการล็อคกลอน ให้เรียบร้อย หากเป็นประตูเลื่อน ต้องเลื่อนได้ง่าย ไม่ติดขัด


9. หลังคา การตรวจสอบไม่ให้มีการรั่วซึมของน้ำ สามารถทำได้ด้วยการฉีดน้ำให้ทั่วหลังคา แล้วตรวจดูว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ โดยการสังเกตร่องรอยน้ำหยดที่พื้นหรือคราบน้ำที่ฝ้าเพดาน หากมีช่องระบายอากาศ ควรพิจารณาการติดตั้งตาข่ายกันแมลงเข้ามา

10. มาตรการป้องกันความร้อน สังเกตก่อนว่าบ้านของเราหันหน้าไปทางทิศใด โดยหากพบว่ามุมใดที่หันไปทางทิศที่ปะทะความร้อนมากที่สุดอย่างทิศใต้ ให้มองหาว่าโครงการได้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันส่วนนั้นอย่างไรบ้าง เช่นการเลือกใช้แผงระแนงกันแดด ที่ช่วยกรองแสงแดดไม่ให้ซึมซับเข้าสู่ตัวบ้านอย่างเต็มๆ การเลือกใช้วัสดุนวัตกรรมใหม่อย่างฝ้าระบายอากาศ หรือแผ่นฝ้าสมาร์ทบอร์ดหรือไม่ โดยหากไม่มีการใช้ แนะนำให้เปลี่ยนให้เป็นแบบป้องกันได้ เลือกที่จะลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นจะได้ไม่ต้องทุกข์ทนกับความร้อน และค่าไฟจากการเปิดแอร์


เรียบเรียงโดย BaanFinder.com เว็บค้นหาอสังหาฯและลงประกาศขายให้เช่าได้ง่ายๆ   


 

หากคุณพอมีประสบการณ์ แชร์ข้อคิดเห็นหรือจุดสำคัญเพิ่มเติมในการตรวจรับบ้านกับเรา เพียงแชร์บทความนี้และบอกความคิดเห็นของคุณกันได้ ผ่านช่องทางด้านล่างเหล่านี้ค่ะ

แชร์บทความนี้

บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... อ่านต่อ...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... อ่านต่อ...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... อ่านต่อ...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... อ่านต่อ...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...