คลังชี้ปัจจัยกระทบอสังหาฯ และศึกษา ‘’สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ’’ เล็งใช้ในอนาคต

แชร์บทความนี้

ดร.วโรทัย โกศลพิสิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวบรรยายในหัวข้อ "ปัจจัยเศรษฐกิจและการลงทุนภาครัฐ ที่มีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์" งานสัมมนาประจำปีจัดโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทร้พย์​ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ว่า ปัจจัยระยะสั้นที่มีผลต่อภาคอสังหาฯนั้น ปัจจัยหนี้ครัวเรือนส่งผลกระทบต่อกำลังซื้ออยู่บ้าง โดยเฉพาะในประเด็นที่ทำให้การก่อหนี้ใหม่สำหรับการซื้ออสังหาฯ ทำได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกจากอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ ทำให้กระตุ้นคนอยากซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม


ในด้านภาวะตลาดอสังหาฯ เดิม อัตราดูดซับเคยสูงถึง 21 เดือน (จำนวนหน่วยเหลือขายที่ต้องใช้เวลาในการขายหมดทั้งโครงการ)​ ล่าสุด ณ เดือนมีนาคม 2558 พบว่าอัตราดูดซับลดลงเหลือ 17 เดือน ถือว่าดีขึ้น


สถิติการจดทะเบียน พบว่ามีประมาณ 9 ล้านราย ซึ่งภาษีรายได้จากการโอนและจดจำนอง ตัวเลขอยู่ที่เกือบ 9 หมื่นล้านบาท โดย 3 หมื่นล้านบาทจะเป็นรายได้ท้องถิ่น


สำหรับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล พบว่า มาตรการด้านการเงินและการคลัง แบ่งเป็น

มาตรการด้านการเงิน โดยให้ ธอส. จัดวงเงิน 10,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ลูกค้าที่เคยถูกปฏิเสธสินเชื่อ มีรายได้สุทธิต่ำกว่า 3 หมื่นบาท โดยมีเงื่อนไขผ่อนปรนจากเกณฑ์ DSR (Debt Service Ratio) หรือความสามารถชำระหนี้ต่อรายได้ จากเดิม 30-40% เพิ่มเป็น 40-50% ล่าสุด วงเงินของ ธอส. มีประชาชนให้ความสนใจและยื่นขอกู้ไปแล้วกว่า 8,000 ล้านบาท


อีกด้านคือ "มาตรการการคลัง"​ โดยยกเว้นค่าโอน จาก 2% เหลือ 0.01%กับลดค่าจดจำนอง จาก 1% เหลือ 0.01% แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท (หรือราคาอสังหาฯ ไม่เกิน 20 ล้านบาท)


มาตรการด้านลดหย่อน โดยประเภทที่อยู่อาศัยที่เข้าเกณฑ์คือ อาคารพร้อมที่ดิน ห้องชุด ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ต้องซื้อเป็นบ้านหลังแรก และมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ต่ำกว่า5 ปี


สรุป ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อภาคอสังหาฯ ได้แก่

1.การปรับราคาประเมินที่ดินใหม่ ของกรมธนารักษ์ มีผล 1 มกราคม 2559 ถึงปี 2562 เฉลี่ยทำให้ราคาประเมินเพิ่ม 25% ทั่วประเทศ


2.ภาษีการรับมรดกและการให้ ณ วันนี้ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง คาดว่าภายในต้นกุมภาพันธ์ 2559 จะมีผลบังคับใช้ โดยการรับมรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีตามกฎหมายใหม่


ขณะที่การลดค่าโอนและจดจำนองจะมีผลบังคับใช้ถึงสิ้นเดือนเมษายน 2559, วงเงินกู้ผ่อนปรนเงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อของธอส. จะสิ้นสุด 18 ตุลาคม 2559 และมาตรการลดหย่อนจะสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559


ดร.วโรทัยกล่าวด้วยว่า การลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาลคาดการมีเม็ดเงินลงทุนมากกว่ า10 ล้านล้านบาท , หนี้ NPA จากสถาบันการเงินจะไหลเข้าพอร์ตของตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือบตท. อีกประมาณ 7,000 ล้านบาท ยังมีกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาฯ หรือ REIT ซึ่งมีประเด็นจากการโอนพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์เดิมเข้าสู่กอง REIT นำเสนอขออนุมัติจากครม. ให้ปลอดภาระภาษี หรือให้สิทธิประโยชน์เท่าเดิม ให้เหลือ 0.01% เป็นต้น


นอกจากนี้ มีเรื่องผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับภาคอสังหาฯ ในอนาคต ก่อนหน้านี้มีเรื่องเอสโครว์แอคเคานต์ (Escrow Account) ตัวที่แนะนำคือ การประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ มอร์เกจ อินชัวรันส์ (Mortgage Insurance - MI)


อีกตัวที่กำลังศึกษาคือ สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) ผู้สูงอายุที่มีบ้านก็นำบ้านมาเป็นหลักประกันสินเชื่อ ทำให้มีหลักประกันด้านรายได้ เมื่อเสียชีวิต จะมีการนำบ้านไปจำหน่ายทอดตลาด ถ้ามีเงินเหลือ (จากการขายบ้าน) จะตกทอดให้กับบุตรหลาน แต่ถ้าไม่พอบุตรหลานก็จะต้องรับภาระไป โดยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อนำไปบังคับใช้ในอนาคต


ข้อมูลจาก:prachachat.net
แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... อ่านต่อ...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... อ่านต่อ...

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... อ่านต่อ...

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... อ่านต่อ...