แบ่งเค้กสถานีบางซื่อ 8 สัญญา จ้างเอกชนบริหาร 5 ปี รับสายสีแดงปี’64

แชร์บทความนี้

รถไฟเปิดประมูลหาเอกชนมืออาชีพบริหารพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ “เชิงพาณิชย์-การบริการ” แบ่งจ้าง 8 สัญญา ระยะเวลา 5 ปี คาดได้เอกชนกลางปีหน้า รับเปิดหวูดสายสีแดง ม.ค.ปี’64

 

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เพื่อรับเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อในเดือน ม.ค. 2564 ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้านระบบรางใหญ่สุดในประเทศและอาเซียน เพราะมีพื้นที่ใช้สอย 264,862 ตร.ม. มีขนาดใหญ่น้อง ๆ สนามบินสุวรรณภูมิ ล่าสุด ร.ฟ.ท.ได้จัดทดสอบความสนใจเอกชนหารูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่

 

“มี 2 แนวทาง

 

1.กลุ่มกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ได้แก่ งาน รปภ., แม่บ้านทำความสะอาด, งานบริหารอาคารและสถานที่ และงานบริหารกลาง กับ

 

2.กิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ ได้แก่ พื้นที่การค้าเชิงพาณิชย์และศูนย์อาหาร, ป้ายโฆษณาและสื่อโฆษณาในและนอกสถานี, ลานจอดรถ คิวรถแท็กซี่และ รปภ.ลานจอดรถ และงานบริการอินเทอร์เน็ตไวไฟ ในสถานี”

 

เบื้องต้นแบ่ง 8 กลุ่มงาน มีการพัฒนา 5 แบบ อายุสัญญาจ้าง 5 ปีต่อสัญญา ได้แก่ แบบที่ 1 สัญญาเดียวรวบทุกงาน แบบที่ 2 แบ่งให้ 2 สัญญาคือ บริหารสถานีกลางกับติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต  แบบที่ 3 แบ่งให้ 3 สัญญาคือ งานบริหารสถานี มีรปภ. แม่บ้าน อาคาร บริหารกลาง งานเชิงพาณิชย์ ที่จอดรถ แท็กซี่ และงานติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต แบบที่ 4 แบ่งให้เอกชน 5 สัญญาคือ งานแม่บ้าน พื้นที่เชิงพาณิชย์ โฆษณา ที่จอดรถ และระบบอินเทอร์เน็ต และแบบที่ 5 แบ่งให้เอกชนทุกสัญญา ขณะนี้ยังไม่สรุป

 

พื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานี มีประมาณ 13,208 ตร.ม. อยู่บริเวณชั้นลอยของสถานีและมีกระจายตามจุดต่าง ๆ โดยรอบสถานี เช่น ร้านคีออสก์ตามลานจอดรถ เป็นต้น มีมูลค่าประเมินอยู่ที่ 100 ล้านบาท จะประมูลให้เอกชนรายเดียว ส่วนเอกชนจะนำไปซอยแบ่งลอตต่อก็สามารถทำได้ แต่ต้องทำหนังสือชี้แจงกลับมาที่ ร.ฟ.ท.ก่อน ตามผลการศึกษาคาดว่าจะมีกำไรสุทธิที่ 10-15%

 

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะนำพื้นที่ชั้น 3 พื้นที่ของรถไฟความเร็วสูงที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีพื้นที่51,774 ตร.ม. เปิดให้พัฒนาพื้นที่ไปก่อนช่วงรอรถไฟความเร็วสูงสร้างเสร็จใช้เวลาอย่างน้อยอีก 4-5 ปี ส่วนพื้นที่สินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) รถไฟไม่ได้กำหนด หากเอกชนเห็นว่าพื้นที่มีศักยภาพก็เสนอเพิ่มภายหลังได้ สำหรับงานบริหารสถานีภายใน เช่น รปภ. แม่บ้านทางที่ปรึกษาประเมินเบื้องต้นมีมูลค่าอยู่ที่ 300 ล้านบาท

 

โดยผลศึกษาจะแล้วเสร็จทั้งหมดในเดือน มิ.ย.นี้ จากนั้นเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ในเดือน ก.ค.-ส.ค. คาดว่าจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้ปลายปีนี้ โดยจะเร่งสัญญาการบริหารสถานีให้สามารถหาเอกชนมาบริหารพื้นที่ได้ให้ทันกับช่วงทดสอบระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในกลางปี 2563

สำหรับเอกชนที่เข้าร่วมประชุมทดสอบความสนใจมีทั้งกลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจบริการขนส่ง ธุรกิจการจัดทำสื่อโฆษณา อาทิ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา, บจ.เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท, บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บจ.สยาม รีเทลดีเวล๊อปเม้นท์, บริษัท สยามพิวรรธน์, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)

ข้อมูลจาก: prachachat.net
แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... Continue Reading...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... Continue Reading...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... Continue Reading...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... Continue Reading...