วิธีย้ายทะเบียนบ้านหลังเดิมไปบ้านหลังใหม่ ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ใช้เอกสารอะไรบ้าง

แชร์บทความนี้

หากว่า คุณซื้อบ้านใหม่และต้องการย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านเดิม เพื่อเข้าบ้านหลังใหม่ หรือขายบ้านเก่าได้ และต้องการย้ายชื่อออกไปยังบ้านอีกหลัง คุณก็สามารถแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านเดิมไปยังทะเบียนบ้านปลายทางใหม่ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้ทะเบียนบ้านเดิม ที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอปลายทางที่ต้องการย้ายเข้า ด้วยการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง  


เช่น คุณซื้อบ้านในชลบุรี และต้องการย้ายจากบ้านเดิมในกรุงเทพฯ ไปอยู่ในทะเบียนบ้านใหม่ที่ชลบุรี ก็สามารถแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางที่ชลบุรีได้เลย 


การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คืออะไร

คือ การแจ้งการย้ายที่อยู่ โดยสามารถขอแจ้งย้ายออกและขอแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่ไปอยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปขอแจ้งย้ายออก จากทะเบียนบ้านเดิม (กรณีบ้านเดิมและบ้านใหม่อยู่ในเขตเดียวกัน จะไม่สามารถย้ายทะเบียนปลายทางได้ ต้องแจ้งย้ายออก และย้ายเข้า โดยใช้ทั้งทะเบียนบ้านเดิมที่ย้ายออกและบ้านใหม่ที่ย้ายเข้า) 


วิธีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง 

ดำเนินการที่ ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอปลายทางที่ต้องการย้ายเข้าไป ยื่นเอกสาร และชำระค่าธรรมเนียม 


กรณีย้ายเข้าทะเบียนบ้านปลายทางที่มีเจ้าบ้าน เช่น ย้ายเข้าบ้านญาติ พี่น้อง คนรู้จัก ฯลฯ 


เอกสารที่ต้องใช้  

  1. ทะเบียนบ้านปลายทาง (บ้านที่จะย้ายเข้า) ฉบับจริง พร้อมสำเนา
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (เจ้าบ้านของบ้านที่จะย้ายเข้า) ฉบับจริง พร้อมสำเนา
  3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย ฉบับจริง พร้อมสำเนา


เอกสารเพิ่มเติม   

  • กรณีเจ้าบ้านปลายทาง ไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตัวเอง 
  • หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้าน และ หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้าน พร้อมเซ็นกำกับ



กรณีย้ายเข้าทะเบียนบ้านปลายทางที่มีไม่มีเจ้าบ้าน เช่น บ้านใหม่ คอนโดใหม่  

 

เอกสารที่ต้องใช้ กรณีผู้แจ้งย้ายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านปลายทาง

  1. ทะเบียนบ้านปลายทาง (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งย้าย (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
  3. เอกสารการครอบครองสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)


เอกสารที่ต้องใช้ กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านปลายทาง 

  1. ทะเบียนบ้านปลายทาง (ตัวจริง พร้อมสำเนา)
  2. บัตรประชาชนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ (ตัวจริง พร้อมสำเนา)
  3. บัตรประชาชนของผู้แจ้งย้าย (ตัวจริง พร้อมสำเนา)
  4. เอกสารการครอบครองสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)


กรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่สามารถเดินทางไปด้วยตัวเอง ต้องมี หนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าและ หนังสือมอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์และหนังสือมอบอำนาจ พร้อมเซ็นกำกับ  


เมื่อแจ้งย้ายเรียบร้อย อย่าลืมแจ้งเจ้าบ้านของทะเบียนบ้านเดิม เพื่อให้ไปอัปเดตสมุดทะเบียนบ้านใหม่ด้วยนะ 

 




แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... Continue Reading...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... Continue Reading...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... Continue Reading...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... Continue Reading...