เอกสารและค่าโอนที่ดินให้ลูก การให้ที่ดินโดยเสน่หา กรมที่ดิน ปี 2566

แชร์บทความนี้

การโอน "ให้" แตกต่างจาก "มรดก" อย่างไร

การขอโอนที่ดินประเภท "ให้" เป็นเรื่องที่ผู้ให้มีเจตนายกทรัพย์สิน ซึ่งคือ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แก่ ผู้รับในขณะที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่ แตกต่างจาก "มรดก" ที่ทายาทจะได้รับเมื่อเจ้าของทรัพย์สินเสียชีวิตไปแล้ว เจ้าของทรัพย์สินสามารถ "ให้" ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้รับโดยไม่มีค่าตอบแทนได้ เจ้าของทรัพย์สิน สามารถที่จะให้ใครก็ได้ โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นทายาท หรือญาติ แต่ค่าโอนที่ดินก็จะแตกต่างกันไป


ค่าโอนที่ดินกรณี "ให้" ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย 

การให้ในระหว่างพ่อแม่กับลูกที่ชอบด้วยกฏหมาย นั่นคือพ่อแม่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย หรือระหว่างคู่สมรส มีค่าโอนที่ดินดังนี้ 


- ค่าจดทะเบียน 0.5% ตามราคาประเมิน 

- ค่าอากร 0.5% ตามราคาประเมินหรือราคาทุนทรัพย์ แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า 

- ค่าธุรกิจเฉพาะ ไม่เสียเฉพาะการที่พ่อแม่ให้ที่ดินแก่ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเสน่หา ไม่คิดเป็นการทำการค้ากำไร ระหว่างพ่อแม่ลูก แม้เจ้าของทรัพย์จะถือครองไม่ถึง 5 ปี แต่ก็ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 

- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% เฉพาะราคาที่ดินส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท 


ค่าโอนที่ดินกรณี "ให้" สามี ภรรยา หรือลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย   

การให้ที่ดินแก่ สามี ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสกัน หรือ ให้ลูกที่เกิดระหว่างพ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร มีค่าโอนที่ดิน ดังนี้ 


– ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน

– ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน  

– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%


ค่าโอนที่ดินกรณี "ให้" ญาติพี่น้อง 

การให้ที่ดินแก่ ญาติ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา รวมถึงลูกบุญธรรม ลูกเขย ลูกสะใภ้ ก็ดี มีค่าโอนที่ดินดังนี้ 


– ค่าธรรมเนียมการโอน 2% จากราคาประเมิน (เสมือนการโอนขาย)

– ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน  

– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%

 

นอกจากนี้ ทุกกรณี ยังมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท ค่าพยาน 20 บาท และค่าอากรคู่ฉบับ 5 บาท  


ข้อระวัง สำหรับการ "ให้" ที่ดิน ทุกกรณี ผู้ให้สามารถเรียกคืนที่ดินได้ 

รูปแบบการให้ที่ดิน ผู้ให้สามารถเรียกคืน ที่ดิน จากผู้รับได้ ในกรณีที่ชี้ได้ว่าผู้รับประพฤติเนรคุณ เช่น ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้ ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หมิ่นประมาทผู้ให้ หรือเมื่อผู้ให้ยากไร้ แต่ผู้รับบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นทั้งที่ผู้รับสามารถให้ได้ เป็นต้น ผู้ให้สามารถยื่นเรื่องต่อศาลให้มีคำสั่งเรียกที่ดินกลับคืนมาได้เช่นกัน   


เอกสารที่ใช้ในการโอน "ให้" ที่ดิน ของผู้โอนและผู้รับโอนมีดังนี้ 

- โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

- ทะเบียนบ้าน

- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)

- ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)

- มรณบัตรคู่สมรส (ถ้ามี)

- หนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส (กรณีสมรส)




แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... Continue Reading...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... Continue Reading...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... Continue Reading...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... Continue Reading...