นายกฯสั่งรื้อ “พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เปลี่ยนใหม่เป็น “พ.ร.บ.ที่ดินเพื่อบำรุงท้องที่”

แชร์บทความนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงการคลังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้กระทรวงการคลังปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังจากที่ได้สั่งให้นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ชะลอการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยได้มอบนโยบายกระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีเฉพาะที่ดินเพียงอย่างเดียว และยกเลิกการจัดเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะส่งผลให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อร่าง พ.ร.บ.จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เปลี่ยนมาเป็น ภาษีที่ดินเพื่อบำรุงท้องที่ โดยให้ตัดคำว่า “สิ่งปลูกสร้าง” ออกไป ซึ่งจะทำให้บ้านและที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ไม่มีภาระภาษีอีกต่อไป


ทั้ง นี้ การตัดทิ้งคำว่า “สิ่งปลูกสร้าง” จะทำให้ร่าง พ.ร.บ.ใหม่ฉบับนี้ มีความคล่องตัวมากขึ้น และที่สำคัญจะสามารถช่วยลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการตีความ ได้ และยังทำให้เกิดความโปร่งใสอีกด้วย เพราะที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน มีแบบบ้านเป็นจำนวนมาก ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม อาคารชุด อาคารพาณิชย์ บ้านทรงไทย และยังมีบ้านที่มีเอกลักษณ์พิเศษของท้องถิ่นเช่น บ้านกาแล เป็นต้น


นอกจากนี้ ยังจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีที่จะจัดเก็บจริง ให้สอดคล้องกับความรู้สึกของประชาชน โดยเฉพาะคนชั้นกลางในเขตพื้นที่ใหญ่เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งปัจจุบันราคาที่ดินได้ปรับตัวขึ้นไปสูงมาก หากเสียทั้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพร้อมๆกัน จะยิ่งทำให้ภาระภาษีที่เกิดขึ้นกลายเป็นภาระของคนชั้นกลางที่ส่วนใหญ่จะมี บ้านและที่ดินราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท


โดย ประเด็นต่างๆเหล่านี้จะถูกนำมาพิจารณาด้วย เพื่อกำหนดอัตราภาษีให้มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง ล่าสุดร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ รมว.คลังเตรียมเสนอ ครม.ได้กำหนดอัตราภาษีไว้ 3 ประเภทคือ อัตราภาษีที่ดินเพื่อการเกษตร อัตราภาษีที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย และ ที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์และที่ดินรกร้างว่างเปล่า สำหรับ อัตราภาษีที่จะจัดเก็บจริง กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โดยแนวคิดการจัดเก็บภาษีที่ดินเป็นอัตราก้าวหน้า และการยกเว้น หรือลดหย่อนภาษี เหมือนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้คนที่มีที่ดินมากต้องเสียภาษีมาก และยังเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎหมายเดิม ที่จัดเก็บภาษีจากความมั่งคั่งของคนรวย


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อัตราภาษีที่เริ่มนิ่ง และมีความชัดเจนแล้วคือ ภาษีที่ดินเพื่อการเกษตร ที่มีมูลค่าไม่เกิน 1.5 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี และสำหรับ อัตราภาษีที่เตรียมเสนอ คือ

  • ที่ดินที่แพงกว่า 1.5 ล้านบาท จัดเก็บจริง 0.05% จากเพดานสูงสุด 0.25%

  • ที่ดินเพื่อการพาณิชย์จะจัดเก็บจริง 0.2% จากเพดานสูงสุด 2% และ

  • ที่ดินว่างเปล่าจัดเก็บจริง 0.5% ของราคาประเมิน โดยเพิ่มขึ้นทุกๆ 3 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 2% ซึ่งเป็นอัตราเพดานภาษีสูงสุด


ขณะ ที่ภาษีที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยยังไม่มีข้อสรุปว่า ควรจะยกเว้นภาษีที่ดินบ้านราคาเท่าไรจึงจะเหมาะสม เบื้องต้น ที่ดินที่มีราคาไม่เกิน 1-2 ล้านบาท ที่ดินราคาไม่เกินตารางวาละ 30,000 บาท ขนาดไม่เกิน 60 ตารางวา หรือราคาประมาณ 1.8 ล้านบาท ที่เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไปของคนชั้นกลางสมควรที่จะได้รับการยกเว้นภาษี  


อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้ปรับลดประมาณการรายได้จากภาษีที่ดินฉบับใหม่ โดยการปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีรายได้เพิ่ม 50,000-100,000 ล้านบาทต่อปี จากปัจจุบันที่จัดเก็บได้ปีละ 20,000 ล้านบาท ขณะที่ ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิม รมว.คลัง ประมาณการว่าจะสามารถ จัดเก็บรายได้ปีละ 200,000 ล้านบาท.


BaanFinder.com เว็บลงประกาศซื้อ ขาย ให้เช่า อสังหาฯ ฟรี

ขอบคุณข้อมูลจาก Thairath.co.th
แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... Continue Reading...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... Continue Reading...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... Continue Reading...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... Continue Reading...