คลังจัดเก็บภาษีที่ดิน 2565 เต็มจำนวน หลังลดลง 90% มา 2 ปี สูญรายได้จำนวนมาก

แชร์บทความนี้

หลังจากรัฐเริ่มเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ปี 2563 โดยมีการลดหย่อน 90% ให้กับประชาชนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ในปี 2565 นี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลังกล่าวว่า จากที่ได้หารือกับกระทรวงมหาดไทยสรุปว่า จะไม่มีการลดหย่อน 90% หรือเสียแค่ 10% ของภาระภาษีอีก เนื่องจาก ที่ผ่านมามีการลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้รายได้ขาดหายไปจำนวนมาก และไม่ได้รับการชดเชยจากสำนักงบประมาณด้วย ทำให้ในปี 2565 ประชาชนต้องเสียภาษีทีดินเต็มจำนวน 


BaanFinder ทำสรุปอัตราภาษีที่ดินแต่ละประเภทกันอีกครั้ง สำหรับการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2565 นี้


ใครต้องเสียภาษีที่ดิน 

เจ้าของที่ดิน / เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง 

เจ้าของห้องชุด

ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ 


ที่ดินแบบไหน ต้องเสียภาษีที่ดินเท่าไร 

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งเป็น 4 ประเภทตามการใช้ประโยชน์บนที่ดิน นั่นคือ ทำการเกษตร อยู่อาศัย  อื่นๆ (พาณิชยกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งแต่ละประเภทมีฐานภาษี (มูลค่าของที่ดิน ตามราคาประเมินทรัพย์) และอัตราภาษีที่แตกต่างกันไป ดังนี้   


ที่ดินเกษตรกรรม อัตราเพดาน 0.15%

ที่ดินสำหรับเกษตรกรรม คือ ที่ดินทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ หากทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่ เสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ 


โดยที่ดินเกษตรกรรมของบุคคลธรรมดา ไม่ต้องเสียภาษีใน 3 ปีแรก (ปีพ.ศ.2563-2565) และปีที่ 4 เป็นต้นไป เจ้าของบุคคลธรรมดา ที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นเป็นการถาวร 






ที่อยู่อาศัย (ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง) อัตราเพดาน 0.3% 

ที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะ เช่น บ้าน ตึกแถว ห้องชุด ใช้เพื่ออยู่อาศัย ซึ่งแบ่งเป็น

  • บ้านหลังหลัก คือ เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด และ มีชื่อในทะเบียนบ้านก่อน 1 มกราคมของปีที่เสียภาษี (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน /เจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
  • บ้านหลังอื่นๆ คือ เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด แต่ ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน เช่น การซื้อบ้านหลังที่ 2 เป็นต้น 



ที่ดินพาณิชยกรรม อัตราเพดาน 1.2%

ที่ดินอื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่ดินเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ 



ที่ดินรกร้าง ว่างเปล่า อัตราเพดาน 1.2%

ที่ดินรกร้าง คือ ที่ดินว่างเปล่า ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพในปีก่อนหน้า ยกเว้นมีกฎหมายห้าม หรือให้ทิ้งไว้เพื่อการเกษตร/ปล่อยไว้เพื่อพัฒนาโครงการ 


หากที่ดินรกร้างว่างเปล่า 3 ปีติดต่อกัน ปีที่ 4 จะเรียกเก็บเพิ่ม 0.3% จากอัตราที่เก็บ และเพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี โดยภาษีที่เสียรวมทั้งหมดไม่เกิน 3%




แชร์บทความนี้


Popular Articles


Articles

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... Continue Reading...

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... Continue Reading...

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... Continue Reading...

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... Continue Reading...

6 ฟีเจอร์ในบ้านยุคใหม่ ที่ผู้ซื้อมองหา

ความต้องการของผู้ซื้อบ้านในยุคปี 2024 นี้ ก็แตกต่างจากยุคสมัยก่อน ดังนั้น เราจึงตรงปรับฟังก์ชั่นการใ ... Continue Reading...