แผนแม่บทรถไฟฟ้าเฟส 2บูมที่รอบสถานี-เมืองบริวาร

แชร์บทความนี้

ปี 2562 เป็นต้นไปประเทศไทยจะมีรถไฟฟ้าสารพัดสีเปิดหวูดบริการ จนครบ 10 เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กม. จากปัจจุบันเปิดให้บริการ 5 เส้นทาง 77 สถานี 107.8 กม.

 

ทั้ง 10 เส้นทางเป็นโครงข่ายถูกร่างไว้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะเวลา 20 ปี นับจากปี 2553-2572 ใช้เม็ดเงินก่อสร้างกว่า 7.8 แสนล้านบาท สถานะ ณ ปี 2560 มีทั้งที่ก่อสร้างเสร็จเปิดให้บริการ กำลังก่อสร้างและขออนุมัติจาก "ครม.-คณะรัฐมนตรี"

 

แต่กว่าที่แต่ละสายจะได้เดินหน้าก็ใช้เวลาผลักดันหลายปีและล่าช้าจากไทม์ไลน์ สวนทางกับสภาพของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปมาก จากการขยายตัวของภาคธุรกิจและการพัฒนาเมืองทั้งใจกลางกรุงเทพฯ ไปสู่ปริมณฑล

 

ล่าสุด "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" กำลังทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ในพื้นที่ต่อเนื่อง โดยร่วมกับประเทศญี่ปุ่นศึกษา หลังได้รับการสนับสนุนจาก "ไจก้า-องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น" ด้วยการนำโมเดลการพัฒนาจากญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบผ่านแนวคิด 5 กรอบ คือ

 

1.การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เกิดประโยชน์

2.รถไฟฟ้าจะสร้างหลังจากนี้เน้นใช้วัสดุและคนในประเทศ

3.ลดต้นทุนในการลงทุนระบบที่ไม่จำเป็นออก เช่น เส้นทาง เดโป

4.สร้างรถไฟฟ้าเพื่อคนทุกกลุ่ม และ

5.เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองบริวาร ตามแผนแม่บทด้านเหนือจะอยู่ที่รังสิต ด้านตะวันออกอยู่ที่มีนบุรี ด้านตะวันตกอยู่ที่ตลิ่งชัน-ศาลายา และด้านใต้อยู่สำโรง สมุทรปราการ ไม่ให้การพัฒนาเมืองเติบโตแบบไร้ขีดจำกัด

 

 

ขณะที่จำนวนเส้นทาง ยังคง 10 เส้นทางไว้เท่าเดิม ยกเว้นบางพื้นที่ต้องเพิ่มเพื่อเติมส่วนที่ยังขาดหายไปให้มีความสมบูรณ์ของการเดินทาง

 

"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การศึกษาแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ไจก้าจะเริ่มทบทวนโครงข่ายเดิมในระยะที่ 1 ดูว่าเส้นทางไหนที่ยังจำเป็นหรือไม่จำเป็น

 

จะเน้นโครงข่ายย่อยเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ปริมณฑลให้มากที่สุด ส่วนการออกแบบต้องคำนึงถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่สถานี เข้าถึงพื้นที่ธุรกิจ หรือย่านการค้า และสร้างเมืองและพื้นที่ธุรกิจใหม่ ควบคู่โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้การลงทุนโครงการเกิดประโยชน์สูงสุด

 

โดยย้ำว่าจะเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่ จากเมื่อก่อนเน้นสร้างรถไฟ แต่ไม่ได้คิดถึงการสร้างเมือง ไม่สร้างผ่านย่านธุรกิจเพราะมูลค่าที่ดินแพง ทั้งที่เป็นการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการและเกิดการสร้างที่อยู่อาศัยด้วย ซึ่งไจก้าใช้เวลาศึกษา 1 ปี มีกำหนดเสร็จปี 2561 จากนั้นถึงเสนอให้ ครม.อนุมัติต่อไป

ข้อมูลจาก  prachachat.net

แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

ซื้อที่ดินทำเกษตร ในวัยเกษียณ ต้องดูอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรเพื่อการดำรงชีพ การดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก หรือเพียงแค่งานอดิเรก การซื้อที่ดินเพื ... อ่านต่อ...

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง (พร้อมตัวอย่าง)

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน มีความสำคัญมาก หลังจากที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงราคาได้เรียบร้อย และอาจจะกำลังวางเ ... อ่านต่อ...

เทคนิคการถ่ายภาพอสังหาฯ ด้วยมือถือ ดึงดูดผู้ซื้อ เมื่อลงประกาศขาย

ประกาศที่มีรูปภาพสวยกว่า มักจะได้รับความสนใจจากผู้ซื้อมากกว่า ดังนั้น รูปภาพอสังหาฯ จึงมีความสำคัญอย ... อ่านต่อ...

บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝด แตกต่างกันยังไง เลือกแบบไหนดี

ผู้ที่กำลังซื้อบ้าน อาจจะสงสัยว่า บ้านเดี่ยว กับ บ้านแฝดแตกต่างกันยังไง และควรเลือกแบบไหนดี เมื่อซื้ ... อ่านต่อ...

คำศัพท์อสังหาฯ ที่เราควรรู้ เมื่อซื้อขายอสังหาฯ

เมื่อคุณเริ่มก้าวเข้าสู่ตลาดอสังหาฯ อาจจะกำลังมองหา ซื้อคอนโด หรือ ซื้อบ้าน หลังแรกในชีวิต คุณอาจพบเ ... อ่านต่อ...