สรุปสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ปี 2559 และประเมินอสังหาริมทรัพย์ปี 2560

แชร์บทความนี้

แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์บริษัท เครือแอทโฮม จำกัด  สรุปสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ปี 2559  และประเมินอสังหาริมทรัพย์ปี 2560  อสังหาฯ  ว่า ค่อยๆ ฟื้นตัวตามอุปสงค์ที่อั้นไว้ก่อนหน้า  ในขณะที่อุปทานเปิดใหม่นั้นลดลง

แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์บริษัท เครือแอทโฮม จำกัด   สำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลทั้งปี59 หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 3  โค้งสุดท้ายของปี 2559 ผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์เปิดขายโครงการแนวราบแทนโครงการแนวสูง เนื่องจากยังมีความต้องการอยู่เรื่อยๆ  

โดยข้อมูลและสถิติด้านอสังหาริมทรัพย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่ามีการเปิดตัว ขออนุญาติก่อสร้างและมูลค่าใกล้เคียงลดลงจากปีที่แล้วโดยเฉลี่ย ประมาณ 5%

ที่มา: เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ(economic indicator) - ธนาคารแห่งประเทศไทยค. 2559  

แม้ว่ามาตรการภาครัฐได้ดูดซับความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยไปแล้วส่วนหนึ่ง ท่ามกลางกำลังซื้อของตลาดผู้ซื้อที่อยู่อาศัยชาวไทยที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ ประกอบกับกลุ่มทุนรายใหญ่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อย่างระมัดระวัง โดยในโค้งสุดท้ายของปี 2559 ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชะลอเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียม แล้วให้ความสำคัญกับการเปิดขายโครงการแนวราบ รวมถึงผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ปรับสัดส่วนการลงทุน โดยชะลอเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงล่าง แล้วหันมาเจาะตลาดผู้ที่มีกำลังซื้อ

แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์บริษัท เครือแอทโฮม จำกัด  คาดว่า ที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลปี 2559 น่าจะมีจำนวน 93,000 หน่วย หดตัวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปี 2558 โดยนับว่าเป็นการหดตัวอย่างต่อเนื่องสามปีติดต่อกัน

ส่วนดัชนีราคาการก่อสร้างก็มีการพื้นตัวจากแดนลบอย่างต่อเนื่องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี 2559

ที่มา: แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์บริษัท เครือแอทโฮม จำกัด  

สำหรับแนวโน้มปี 2560 การซื้อขายที่อยู่อาศัยน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ โดยมีแรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงกำลังซื้อที่อาจกลับมาฟื้นตัว โดยสถานการณ์ดังกล่าว น่าจะส่งผลให้จำนวนที่อยู่อาศัยคงค้างลดลง และเกิดการปรับตัวสู่สมดุลระหว่างจำนวนและความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์น่าจะมีความเชื่อมั่น ส่งผลให้การเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ปี 2560 กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีได้

ในด้านของดัชนีความเชื่อมันของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์พบว่า ลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อยที่ระดับ 54.7 แต่ก็ยังสูงกว่าระดับดัชนีที่ 50 นั้นก็แสดงว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยังมั่นใจในการจะสร้างหรือเปิดโครงการใหม่ๆ ในปี 2560 เพียงแต่ต้องระมัดระวังและสำรวจตลาดอย่างรอบคอบขึ้น

ที่มา: แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์บริษัท เครือแอทโฮม จำกัด  

จากการที่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เร่งทำการตลาดกระตุ้นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยให้ทันระยะเวลามาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และจดทะเบียนการจำนอง ที่สิ้นสุดในช่วงปลายเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยฟื้นตัวในระยะสั้น โดยจำนวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลในส่วนของการซื้อจากผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมกราคม-เมษายน 2559 รวม 55,756 หน่วย เติบโตร้อยละ 113 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 ซึ่งเป็นผลมาจากการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในโค้งสุดท้ายของมาตรการในเดือนเมษายน 2559 ที่เติบโตถึงร้อยละ 285 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558

ในด้านดัชนีราคาพบว่า ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยบ้านเดี่ยวในกรุงเทพปรับเพิ่ม 1.7 % และในเขตรอบนอกปริมณฑลปรับเพิ่ม 1.5%  ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮาส์ปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.3 % และ ดัชนีราคาคอนโดปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 5 % สูงที่สุดในบรรดาประเภทอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งหากลงในรายละเอียดระดับราคาพบว่ากลุ่มบน ที่ระดับราคา 80,000-120,000 บาท/ตรม. มีการปรับเพิ่มสูงสุดที่ 5.9 % และปรับเพิ่มต่ำสุดที่ระดับ 2.9% สำหรับระดับราคาต่ำกว่า 50,000บาท/ตรม. เนื่องจากในสภาวะ ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ กำลังซื้อของผู้บริโภคระดับล่างมีจำกัด ทำให้มูลค่าคอนโดระดับล่างไม่เพิ่มสูงเท่าคอนโดในระดับบน  เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวกระทบต่อผู้บริโภคระดับบนน้อยมาก  

ที่มา: แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์บริษัท เครือแอทโฮม จำกัด  

อย่างไรก็ตาม จำนวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลในส่วนของการซื้อจากผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่สิ้นสุดมาตรการ หรือในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2559 รวม 24,086 หน่วย หดตัวร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558  จำนวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยที่หดตัวตั้งแต่สิ้นสุดมาตรการ สะท้อนถึงผลของมาตรการได้ดูดซับความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยไปแล้วส่วนหนึ่ง และส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยชะลอตัวหลังสิ้นสุดมาตรการ

แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์บริษัท เครือแอทโฮม จำกัด  คาดว่า จำนวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลในส่วนของการซื้อจากผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งปี 2559 น่าจะอยู่ที่ 119,000-120,000 หน่วย เติบโตร้อยละ 2-3 เมื่อเทียบกับปี 2558 โดยมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และจดทะเบียนการจำนอง ที่สิ้นสุดในช่วงปลายเดือนเมษายน 2559 เป็นแรงหนุนให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั้งปี 2559 เติบโตได้เล็กน้อย

โค้งสุดท้ายของปี ผู้ประกอบการรายใหญ่ปรับสัดส่วนการลงทุน เจาะตลาดผู้มีกำลังซื้อ

ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการเปิดขายโครงการแนวราบ คาดที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลปี59 หดตัวร้อยละ 14 โดยหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่3

ในระยะที่ผ่านมา ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่เปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ในหลายทำเล เพื่อเข้าถึงผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในวงกว้าง ประกอบกับยังมีกลุ่มทุนรายใหญ่ที่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดที่อยู่อาศัย โดยการแข่งขันพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยอย่างกระจุกตัวในบางทำเล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่ยังมีข้อจำกัดด้านการเดินทางสู่ใจกลางเมือง ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างจำนวนที่อยู่อาศัย และความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว

นอกจากนี้ สถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เนื่องจากหนี้สินครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง ท่ามกลางกำลังซื้อของตลาดผู้ซื้อที่อยู่อาศัยชาวไทยที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จึงเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อย่างระมัดระวัง ส่งผลให้บรรยากาศการขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ปี 2559 ไม่คึกคัก สอดคล้องกับสถานการณ์ยอดพรีเซลล์ที่อยู่อาศัยของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2559 ที่ส่วนใหญ่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย นับเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องเร่งปรับกลยุทธ์ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2559

โดยในโค้งสุดท้ายของปี 2559 ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปรับแผนการขายที่อยู่อาศัย ด้วยการชะลอเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียม แล้วให้ความสำคัญกับการเปิดขายโครงการแนวราบ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 สัดส่วนจำนวนคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่น่าจะมีแนวโน้มลดลง โดยโครงการแนวราบส่วนใหญ่เป็นตลาดซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยจริง ที่มีมูลค่าเฉลี่ยต่อหน่วยสูงกว่าโครงการคอนโดมิเนียม รวมถึงมีจำนวนหน่วยต่ำกว่าโครงการคอนโดมิเนียม จึงสามารถปิดการขายได้ในระยะเวลาไม่นาน ประกอบกับโครงการแนวราบสามารถแบ่งการพัฒนาและขายเป็นเฟส ซึ่งเผชิญแรงกดดันในการขายน้อยกว่าโครงการคอนโดมิเนียมที่ต้องพัฒนาและขายทั้งโครงการ

ผลจากการที่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อย่างระมัดระวัง ประกอบกับในโค้งสุดท้ายของปี 2559 ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปรับแผนการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัย โดยชะลอเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียม แล้วให้ความสำคัญกับการเปิดขายโครงการแนวราบ ซึ่งมีจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยต่ำกว่าโครงการคอนโดมิเนียม ส่งผลให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลปี 2559 น่าจะมีจำนวน 93,000 หน่วย หดตัวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปี 2558 โดยเป็นการหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สาม ทั้งนี้ จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงการปรับกลยุทธ์การขายที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรักษาระดับจำนวนที่อยู่อาศัยคงค้างไม่ให้สะสมสูงเกินไป ในภาวะความต้องการที่อยู่อาศัยชะลอตัว

โค้งสุดท้ายปี59 ผู้ประกอบการรายใหญ่ใช้ข้อได้เปรียบที่มีอยู่ ปรับสัดส่วนการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัย เจาะตลาดผู้ที่มีกำลังซื้อ ความต้องการที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปี 2559 ที่ชะลอตัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กำหนดกลยุทธ์การเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในโค้งสุดท้ายของปี 2559 อย่างระมัดระวัง โดยผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยหลากหลายเซ็กเมนต์ มีข้อได้เปรียบในการปรับสัดส่วนการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเลือกชะลอเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงล่าง แล้วหันมาเจาะตลาดผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีกำลังซื้อ ทั้งเพื่ออยู่อาศัยจริง และเพื่อการลงทุน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสถูกปฏิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในระดับต่ำ รวมถึงมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจในระดับต่ำอีกด้วย โดยมุ่งเน้นเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยระดับบนในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ซึ่งน่าจะส่งผลต่อเนื่องให้ราคาเฉลี่ยที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลในโค้งสุดท้ายของปี 2559 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับบน ก็ยังเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้เล่นที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มทุนรายใหญ่ที่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดที่อยู่อาศัย รวมถึงผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายกลางและเล็ก

กลยุทธ์เจาะตลาดที่อยู่อาศัยระดับบน

ผู้ประกอบการรายใหญ่ กำหนดให้ที่อยู่อาศัยระดับบนเป็นเซ็กเมนต์ที่ผลักดันให้ผลประกอบการของบริษัทปี 2559 เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีข้อได้เปรียบด้านการมีแบรนด์น่าเชื่อถือ และสร้างความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ผู้ให้บริการด้านการแพทย์ ผู้ให้บริการออกแบบโครงการที่อยู่อาศัย ผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวก เป็นต้น

กลุ่มทุนรายใหญ่ที่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดที่อยู่อาศัย   ใช้ความเชี่ยวชาญจากการประกอบธุรกิจอื่นๆ ต่อยอดมาสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยสร้างความแตกต่างจากผู้ประกอบการในตลาด ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาโครงการรูปแบบ Mixed-use Project ที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม ศูนย์การค้า เป็นต้นผู้ประกอบการรายกลางและเล็ก ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่มีที่ดินทำเลใจกลางเมืองอยู่แล้ว พัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนหน่วยไม่สูงมากนัก โดยใช้ข้อได้เปรียบด้านต้นทุนราคาที่ดินที่ต่ำกว่าคู่แข่งนำเสนอโครงการที่อยู่อาศัยระดับบน ในราคาที่คุ้มค่าและเป็นโครงการที่มีเอกลักษณ์ (Uniqueness)

ผู้ประกอบการระบายโครงการที่อยู่อาศัยในช่วงเวลาที่เหลือของปี59 โดยนำที่อยู่อาศัยคงค้างมาทำการตลาดใหม่ ควบคู่การร่วมมือกับสถาบันการเงินนำเสนอโปรโมชั่นดอกเบี้ย

แม้ช่วงเวลาที่เหลือของปี 2559 จะยังมีมาตรการภาครัฐที่ยังคงเหลือ อย่างการกระตุ้นผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้ซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 เพื่อนำวงเงินมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รวมถึงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาทภายใต้โครงการบ้านประชารัฐ ที่เป็นปัจจัยหนุนตลาดที่อยู่อาศัย แต่ภาวะหนี้สินครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เป็นความท้าทายของผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในการเร่งระบายที่อยู่อาศัยคงค้าง

แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์บริษัท เครือแอทโฮม จำกัด  มองว่า การนำโครงการที่อยู่อาศัยคงค้างกลับมาทำการตลาดใหม่ ควบคู่การร่วมมือกับสถาบันการเงินนำเสนอโปรโมชั่นด้านอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ น่าจะช่วยระบายโครงการที่อยู่อาศัยคงค้างในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2559 ได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อาจเร่งระบายที่อยู่อาศัยคงค้างด้วยการขายยกล็อตให้กับนักลงทุนที่ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อให้เช่าต่อหรือเก็งกำไร โดยภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยลดลง รวมถึงอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าหรือขายที่อยู่อาศัย ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก น่าจะยังคงดึงดูดให้นักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนจากการฝากธนาคาร มาลงทุนซื้อที่อยู่อาศัย

จับตาปี60 จำนวนที่อยู่อาศัยและความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยปรับตัวสู่สมดุล การเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อาจกลับมาขยายตัวได้

สำหรับแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยปี 2560 แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์บริษัท เครือแอทโฮม จำกัด  มองว่า กิจกรรมการลงทุนและการซื้อขายที่อยู่อาศัยน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ โดยผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์น่าจะทยอยกลับมาลงทุนเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ออกสู่ตลาด และให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมการตลาดอย่างเข้มข้น โดยมีแรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงหากการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว น่าจะก่อให้เกิดการจ้างงาน และกำลังซื้ออาจกลับมาฟื้นตัวได้ โดยสถานการณ์ดังกล่าว น่าจะส่งผลให้จำนวนที่อยู่อาศัยคงค้างลดลง และเกิดการปรับตัวสู่สมดุลระหว่างจำนวนที่อยู่อาศัยและความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ขอบคุณข้อมูล จาก ดร. นิรุทธ์ พรมบุตร แผนกวิจัยและที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทเครือแอทโฮม จำกัด

แชร์บทความนี้

บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... อ่านต่อ...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... อ่านต่อ...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... อ่านต่อ...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... อ่านต่อ...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...