อนันต์ อัศวโภคิน เปิดจุดเสี่ยงอสังหาฯปีระกา "รีเจ็กต์เรต-หนี้ครัวเรือน"

แชร์บทความนี้

ยามนี้จ่อไมค์ถามที่ดีเวลอปเปอร์รายใด คำตอบถึงปัจจัยลบสำคัญของตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2560 พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าคือ "รีเจ็กต์เรต" หรืออัตราปฏิเสธสินเชื่อที่เส้นกราฟพุ่งสูงขึ้นในปีที่แล้ว คาดกันว่ายังแก้ไม่ตกในปีนี้ ตราบใดที่หนี้ครัวเรือนยังท่วมตัวลูกค้า


ตะลึงรีเจ็กต์เรต 50%

 

ล่าสุด "เฮียตึ๋ง-อนันต์ อัศวโภคิน" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) พี่ใหญ่ของวงการขึ้นเวทีเสวนาทิศทางธุรกิจอสังหาฯปีระกา ในงานเปิดหลักสูตรอบรมนักพัฒนาจัดสรร The NEXT Real รุ่นที่ 3 ประเด็นแรกที่หยิบมาพูดก็คือปัญหารีเจ็กต์เรตนี่เอง

 

"กลุ่มกระทบหนักที่สุดคือตลาดล่าง ราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาท อัตราลูกค้ากู้ไม่ผ่านสูงถึง 30-50% จนบางบริษัทยอมให้ลูกค้าผ่อนโดยตรงนานเป็นปี เพื่อเตรียมประวัติการผ่อนชำระไปให้แบงก์ดู ซึ่งก็ต้องเห็นใจแบงก์เพราะหนี้เสียเยอะมากจริง ๆ และเป็นหนี้เสียกันได้ง่ายขึ้น"

 

"อนันต์" กล่าวว่า ปัญหารีเจ็กต์เรตเป็นประเด็นสำคัญในปีนี้ยิ่งกว่าประเด็นยอดขายต่ำ แนวทางการรับมือต้องเริ่มตั้งแต่ต้นทาง ด้วยการเรียกเก็บเงินดาวน์สูงอย่างน้อย 15% หากเป็นตลาดบนควรเก็บดาวน์ 40% เพื่อกลั่นกรองลูกค้าที่มีวินัยผ่อนชำระได้เข้ามา และควรทำพรีแอปพรูฟให้ธนาคารตรวจสอบประวัติตั้งแต่ก่อนรับจองซื้อ

 

"การซื้อบ้านไม่เหมือนซื้อตู้เย็นซื้อบ้านต้องมีวินัยการเงินจึงต้องเรียกเก็บดาวน์สูงเพื่อคัดลูกค้าที่พร้อมจริงๆ รวมทั้งการรับจองทั้ง ๆ ที่รู้ว่าลูกค้าผ่อนไม่ไหว เป็นการทำงานซ้ำซ้อน เสียเวลาและค่าเอกสารเวลาคืนเงินจอง แถมบางทีเสียโอกาสในการนำยูนิตนั้นมารีเซล เพราะลูกค้าบางรายพยายามยื่นกู้จนกว่าจะได้รับอนุมัติ ทำให้ยูนิตที่ควรจะปิดการโอนได้ยังคงค้างคาอยู่แบบนั้น"

 

ปีนี้แลนด์ฯเน้นบ้าน 7 ล้าน

 

เทรนด์อสังหาฯปี′60 "อนันต์" มองว่าไม่น่าจะตกต่ำลงจากปีที่แล้ว แต่อาจไม่ดีขึ้นมากนักเมื่อพิจารณาสภาพเศรษฐกิจโดยรวม การส่งออกของไทยยังซบเซา เฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมยอมรับมีภาวะโอเวอร์ซัพพลาย แต่ในปีนี้การมองตลาดต้องดูเป็นทำเลและเซ็กเมนต์ บางจุด บางระดับราคาก็ยังมีโอกาส

 

"เศรษฐกิจซบเซารอบนี้ไม่เหมือนปี 2540 ครั้งนั้นธนาคารไม่มีเงินเหลือเลย แต่คราวนี้ธนาคารมีเงินฝากเยอะมาก แต่ปล่อยกู้ไม่ได้เพราะหนี้เสียก็สูง แสดงว่าคนที่มีเงินก็มีมาก แต่คนที่ไม่มีก็ไม่มีเลยจริง ๆ เราก็ต้องปรับตัวไปตามตลาด อย่างของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ปรับตัวมาทำบ้านราคาเฉลี่ย 7 ล้านเป็นหลัก กลุ่มต่ำกว่า 3-4 ล้าน ดูแล้วยังไม่ฟื้นก็หยุดพัฒนาไปก่อน ปลาตัวเล็กจับไม่ได้ เราก็หันมาจับปลาตัวใหญ่"

 

กรณีรายกลางรายเล็กมองว่ายังมีโอกาสที่ดี หากไม่พัฒนาโครงการใหญ่เกินไป ก็ยังสามารถพัฒนาโครงการไซซ์เล็กเติมช่องว่างตลาดที่รายใหญ่เข้าไม่ถึง เช่น โครงการขนาดเล็กในซอย

 

"อนันต์" ยังชี้ว่าโอกาสในต่างจังหวัดน่าสนใจเช่นกัน จากการเปิดศูนย์การค้า เทอร์มินอล 21 โคราช เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีทราฟฟิกลูกค้าวันแรกกว่า 1 แสนคน เฉพาะฟู้ดคอร์ตมียอดขายรวมวันละ 1 ล้านบาท แสดงให้เห็นกำลังซื้อในจังหวัด รวมถึงการดึงกำลังซื้อใหม่ ๆ เช่น ชาวต่างชาติ ขณะนี้ชาวจีน ฮ่องกง ถือเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ มีความต้องการซื้อห้องชุดในกรุงเทพฯเพื่อลงทุน คล้ายกับในยุคหนึ่งชาวรัสเซียเคยเป็นลูกค้าหลักตลาดคอนโดฯพัทยาเป็นการฉายภาพอสังหาฯปีระกาทั้งสั้นและกระชับว่าในวิกฤตมักจะมีโอกาสเสมอ


ข้อมูลและรูปภาพจาก prachachat.net

แชร์บทความนี้


บทความยอดนิยม


บทความใหม่ล่าสุด

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... อ่านต่อ...

5 วิธีที่ห้องนอนของคุณทำลายการนอนหลับของคุณ

การนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี แต่บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามปัจ ... อ่านต่อ...

พาส่อง 4 โครงการใหญ่ ใกล้เปิดตัวในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ มักจะผูกพันกับศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ... อ่านต่อ...

คอนโดผู้สูงอายุ ดีไหม พร้อมแนะนำ 5 คอนโดผู้สูงอายุในไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ทิศทางของตลาดอสังหาฯ เริ่มพัฒนาที่อยู ... อ่านต่อ...

6 ฟีเจอร์ในบ้านยุคใหม่ ที่ผู้ซื้อมองหา

ความต้องการของผู้ซื้อบ้านในยุคปี 2024 นี้ ก็แตกต่างจากยุคสมัยก่อน ดังนั้น เราจึงตรงปรับฟังก์ชั่นการใ ... อ่านต่อ...