ทุบสถิติ "รถไฟสายสีแดง" งบบานปลาย 4 รอบเฉียดแสนล้าน

แชร์บทความนี้

ในที่สุด "รัฐบาล คสช." กดปุ่มไฟเขียวกรอบค่าก่อสร้างให้กับรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต"ระยะทาง 26 กม.ที่รีวิวมาใหม่อีกครั้งเป็นที่เรียบร้อยครบถ้วนทั้งโครงการ จากกรอบเดิม 75,548 ล้านบาท เป็น 93,950 ล้านบาท เบ็ดเสร็จเพิ่มขึ้น 18,402 ล้านบาท ในรอบระยะเวลา 6 ปี

การปรับครั้งล่าสุดนับเป็นรอบที่ 4 ที่รถไฟฟ้าสีนี้ขยับวงเงินลงทุน จากครั้งแรกในปี 2552 "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ปรับเพิ่มวงเงินก่อสร้างจากเดิมอยู่ที่ 59,888 ล้านบาท มาอยู่ที่ 75,548 ล้านบาท เพราะแบบก่อสร้างฉบับเดิมที่บริษัทที่ปรึกษาคำนวณไว้ผ่านมาหลายปี ไม่สอดคล้องกับต้นทุนในขณะนั้น


จากนั้นปี 2555 ขยับเป็นครั้งที่ 2 เพิ่มเป็น 80,375 ล้านบาท ผลพวงมาจากผู้รับเหมาก่อสร้างที่ชนะประมูลเสนอราคามาเกินจากกรอบราคากลาง "ร.ฟ.ท." จึงขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มอีก 4,827 ล้านบาทแยกเป็น

สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงของ "กลุ่มกิจการร่วมค้า SU" (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ) จาก 27,344 ล้านบาท เป็น 30,078 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างโยธาและสถานีของ "บมจ.อิตาเลียนไทย" จาก 18,861 ล้านบาท เป็น 21,406 ล้านบาท และ

สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมรถไฟฟ้า จาก 26,272 ล้านบาท เป็น 28,899 ล้านบาท


ถัดมาครั้งที่ 3 ในปี 2558 ยุค "รัฐบาล คสช." ขอเพิ่มอีก 8,104 ล้านบาท หลังปรับแบบก่อสร้าง"สถานีกลางบางซื่อ" ส่วนของชานชาลาสถานีและโครงการทางให้รองรับกับรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในอนาคต


ซึ่ง "ร.ฟ.ท." เพิ่มค่าก่อสร้างให้สัญญาที่ 1 จำนวน 4,291 ล้านบาท จากเดิม 29,826 ล้านบาท เป็น 34,118 ล้านบาท สัญญาที่ 2 จำนวน 3,340 ล้านบาท จากเดิม 21,235 ล้านบาท เป็น 24,575 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างรางวิ่งสำหรับรถไฟฟ้าเพิ่ม 1 ราง จากเดิมออกแบบไว้ 3 ราง เป็น 4 ราง และสัญญาที่ 3 ทาง "ร.ฟ.ท." จัดสรรเม็ดเงินเผื่อไว้จำนวน 473 ล้านบาท


ล่าสุดหลังผลเจรจาการประมูลสัญญาที่ 3 กับกลุ่มร่วมค้า MHSC (มิตซูบิชิเฮฟวี่-ฮิตาชิ-สุมิโตโม) ผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นจนได้ราคาสุดท้ายที่ 32,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,743 ล้านบาท จากกรอบเดิมกำหนดไว้ 25,656 ล้านบาท


ในนี้มีวงเงินสำหรับติดตั้งระบบและจัดหารถสำหรับสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-ตลิ่งชัน" ระยะทาง 15 กม.รวมอยู่ด้วย 5,857 ล้านบาท ที่ผูกรวมอยู่กับงานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าของสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต"


โดย "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติเป็นที่เรียบร้อย เตรียมเซ็นสัญญาเร็ว ๆ นี้ และเริ่มงานได้กลางปีนี้เป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 48 เดือน จะแล้วเสร็จปี 2562 หรืออย่างช้าปี 2563


ข้อมูลจาก prachachat.net
แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

ของมันต้องมี! เทรนด์ของแต่งบ้าน เปลี่ยนลุคห้องนอนให้สวยมินิมอล เรียบง่าย ในงบหลักร้อยถึงพัน

การแต่งบ้านแบบมินิมอล ยังคงเป็นทางเลือกยอดนิยมในยุคนี้ เนื่องจากความเรียบง่าย ดูสบายตา และสามารถปรับ ... Continue Reading...

อนุญาตให้ผู้เช่าเลี้ยงสัตว์เลี้ยงดีไหม ข้อดีและข้อเสียบ้านเช่าเลี้ยงสัตว์ได้มีอะไรบ้าง

เจ้าของบ้านที่ต้องการปล่อยเช่าบ้าน คอนโด มีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการตัดสินใจ ... Continue Reading...

เที่ยวสยาม 1 วัน ทำอะไรดี? แจก 7 พิกัด กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง

แหล่งรวมผู้คน กิจกรรม ห้างร้าน และความทันสมัยของกรุงเทพฯ ย่านใจกลางเมืองต้องยกให้กับ “สยาม” ไม่ว่าคุ ... Continue Reading...

อยากย้ายไปอยู่เชียงใหม่ ทำเลไหนน่าอยู่ ที่สุด

เชียงใหม่ ถือเป็นจังหวัดที่หลาย ๆ คนหลงรัก และบางคนถึงกับต้องการย้ายจากความวุ่นวายในเมืองกรุงฯ มาสู่ ... Continue Reading...

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...