5 สิ่งที่คุณควรรู้เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตหากเกิดไฟไหม้

แชร์บทความนี้

ไฟไหม้ เป็นภัยอันตรายที่ทำให่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในแต่ละปี โดย กทม. เปิดเผย 3 สาเหตุหลักของการเกิดอัคคีภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ (ข้อมูลช่วงก.ค.-ธ.ค.57) อันดับหนึ่งคือ ไฟฟ้าลัดวงจร เช่น การใช้ปลั๊กเก่า สายไฟฟ้าชำรุด หรือพ่วงสายไฟมากจนเกิดการใช้กระแสไฟเกินกำลัง ฯลฯ คิดเป็น 62% ของการเกิดเหตุทั้งหมด รองลงมา คือ การจุดธูปเทียนทิ้งไว้ 11.4% และการอุ่นอาหารทิ้งไว้ คิดเป็น 8.19%   

 

ความรู้ความเข้าใจในการหนีไฟจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก แม้ว่าคุณอาจจะคิดว่าตัวเองคงจะไม่ตกอยู่ในเหตุการณ์ไฟไหม้ได้ แต่การเตรียมตัวและรู้ว่าต้องทำอะไรก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรัก

 

หากเกิดเหตุไฟไหม้ อย่าพยายามจะดับไฟด้วยตัวเอง ถ้าตัวคุณจะไม่ปลอดภัย ในความเป็นจริงทุกบ้านควรที่จะมี “ถังดับเพลิง” เพื่อความปลอดภัย และสอนให้ทุกคนในบ้านรู้จักวิธีใช้อย่างถูกต้อง เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขนาดเล็กในบ้าน และหากเกิดเหตุไฟไหม้ที่ลุกลามจนคุณไม่อาจควบคุมเพลิงได้ คุณควรที่จะแจ้งเตือนคนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นการตะโกนแจ้ง หรือกดสัญญาณแจ้งเตือน และคุณควรต้องรู้เรื่องต่อไปนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตหากเกิดเหตุไฟไหม้

 

1. ตั้งสติ

เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเตือนไฟไหม้ อย่าตื่นตระหนก รวมตัวทุกคนในบ้านให้เร็วที่สุด ไปยังทางออกหนีไฟ ห้ามใช้ลิฟต์เด็ดขาด และพยายามออกสู่นอกบ้านหรืออาคารอย่างเร็วและปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้    

2. อย่าหยุด

อย่าหยุดเพื่อคิดว่าต้องนำสิ่งของมีค่าอะไรติดตัวไป สิ่งเดียวที่คุณควรคิดถึงคือ “การออกจากอาคารอย่างปลอดภัย” และไม่มีอะไรที่สำคัญกว่านั้น จำไว้ว่าไฟนั้นลุกลามได้เร็วมาก คุณอาจจะมีเวลาเพียงไม่ดี่วินาทีเท่านั้นในการหนีออก ดังนั้นอย่าเอาชีวิตไปแลกกับการกลับไปหยิบข้าวของ   

 

3. หมอบต่ำ

ควันไฟจะลอยขึ้นที่สูงและเป็นพิษที่อาจจะทำให้คุณสำลักควันได้ ซึ่งการตายในไฟไหม้ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดอากาศหายใจมากกว่าถูกไฟคลอก และควันพิษบางชนิดก็อาจจะลอยตัวต่ำมาก ช่วงอากาศที่ปลอดภัยคือประมาณ 30-60 ซม. เหนือพื้น ดังนั้น คุณควรที่จะคลานเข่ากับพื้นที่ซึ่งมีอากาศที่สะดวกกับการหายใจมากกว่า โดยเอามือปิดปากและจมูกไว้ หรือดีกว่านั้นใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก และหากมีไฟติดเสื้อผ้าให้ขนาบด้านที่ไฟติดกับพื้น ปิดหน้าเพื่อป้องกันอันตราย และกลิ้งตัวเพื่อดับไฟ

 

4. ปิดประตูห้องเพื่อจำกัดไฟลุกลาม และอย่าเปิดประตูหากสัมผัสถึงความร้อน

หากเป็นไปได้ ปิดประตูห้องที่มีไฟลุกไหม้เพื่อชะลอและจำกัดพื้นที่ที่ไฟจะลุกลาม และระมัดระวังในการเปิดประตูเพื่อหนี โดยสังเกตประตูว่ามีควันออกมาหรือไม่ หากมีอย่าเปิดประตู และใช้หลังมือของคุณแตะที่ประตูหากสัมผัสได้ว่าประตูร้อน หรือลูกบิดประตูอุ่นจัดถึงร้อน อย่าเปิดประตูเพราะจะทำให้ไฟที่อยู่อีกฝั่งของประตูพุ่งใส่คุณได้   

 

5. อย่ากลับเข้าไปในอาคาร

เมื่อคุณออกมาจากอาคารได้แล้ว ให้หาที่ปลอดภัยอยู่และรอเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและพจญเพลิงมาถึง หากมีคนติดอยู่ในอาคาร และไฟไหม้หนัก แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบพร้อมข้อมูลตำแหน่ง อย่ากลับเข้าไปในอาคารหากว่าเพลิงไม้หนัก เพราะจะทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงยากขึ้น และยังเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตของคุณเองด้วย

 

 

เขียนและเรียบเรียงข้อมูลโดย BaanFinder.com  

 

Cover image credit: Ade Bu  

แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... Continue Reading...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... Continue Reading...

วิธีคลายร้อนให้บ้าน ช่วงหน้าร้อนนี้

อากาศที่ร้อนอบอ้าว เมื่อย่างก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีของประเทศไท ... Continue Reading...

เช่าคอนโดครั้งแรก คำแนะนำ สำหรับผู้เช่ามือใหม่

การ เช่าคอนโด เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่และผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายแต่ไม ... Continue Reading...