นายกฯสั่งรื้อ “พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เปลี่ยนใหม่เป็น “พ.ร.บ.ที่ดินเพื่อบำรุงท้องที่”

แชร์บทความนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงการคลังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้กระทรวงการคลังปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังจากที่ได้สั่งให้นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ชะลอการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยได้มอบนโยบายกระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีเฉพาะที่ดินเพียงอย่างเดียว และยกเลิกการจัดเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะส่งผลให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อร่าง พ.ร.บ.จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เปลี่ยนมาเป็น ภาษีที่ดินเพื่อบำรุงท้องที่ โดยให้ตัดคำว่า “สิ่งปลูกสร้าง” ออกไป ซึ่งจะทำให้บ้านและที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ไม่มีภาระภาษีอีกต่อไป


ทั้ง นี้ การตัดทิ้งคำว่า “สิ่งปลูกสร้าง” จะทำให้ร่าง พ.ร.บ.ใหม่ฉบับนี้ มีความคล่องตัวมากขึ้น และที่สำคัญจะสามารถช่วยลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการตีความ ได้ และยังทำให้เกิดความโปร่งใสอีกด้วย เพราะที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน มีแบบบ้านเป็นจำนวนมาก ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม อาคารชุด อาคารพาณิชย์ บ้านทรงไทย และยังมีบ้านที่มีเอกลักษณ์พิเศษของท้องถิ่นเช่น บ้านกาแล เป็นต้น


นอกจากนี้ ยังจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีที่จะจัดเก็บจริง ให้สอดคล้องกับความรู้สึกของประชาชน โดยเฉพาะคนชั้นกลางในเขตพื้นที่ใหญ่เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งปัจจุบันราคาที่ดินได้ปรับตัวขึ้นไปสูงมาก หากเสียทั้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพร้อมๆกัน จะยิ่งทำให้ภาระภาษีที่เกิดขึ้นกลายเป็นภาระของคนชั้นกลางที่ส่วนใหญ่จะมี บ้านและที่ดินราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท


โดย ประเด็นต่างๆเหล่านี้จะถูกนำมาพิจารณาด้วย เพื่อกำหนดอัตราภาษีให้มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง ล่าสุดร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ รมว.คลังเตรียมเสนอ ครม.ได้กำหนดอัตราภาษีไว้ 3 ประเภทคือ อัตราภาษีที่ดินเพื่อการเกษตร อัตราภาษีที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย และ ที่ดินเพื่อเชิงพาณิชย์และที่ดินรกร้างว่างเปล่า สำหรับ อัตราภาษีที่จะจัดเก็บจริง กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โดยแนวคิดการจัดเก็บภาษีที่ดินเป็นอัตราก้าวหน้า และการยกเว้น หรือลดหย่อนภาษี เหมือนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้คนที่มีที่ดินมากต้องเสียภาษีมาก และยังเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎหมายเดิม ที่จัดเก็บภาษีจากความมั่งคั่งของคนรวย


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อัตราภาษีที่เริ่มนิ่ง และมีความชัดเจนแล้วคือ ภาษีที่ดินเพื่อการเกษตร ที่มีมูลค่าไม่เกิน 1.5 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี และสำหรับ อัตราภาษีที่เตรียมเสนอ คือ

  • ที่ดินที่แพงกว่า 1.5 ล้านบาท จัดเก็บจริง 0.05% จากเพดานสูงสุด 0.25%

  • ที่ดินเพื่อการพาณิชย์จะจัดเก็บจริง 0.2% จากเพดานสูงสุด 2% และ

  • ที่ดินว่างเปล่าจัดเก็บจริง 0.5% ของราคาประเมิน โดยเพิ่มขึ้นทุกๆ 3 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 2% ซึ่งเป็นอัตราเพดานภาษีสูงสุด


ขณะ ที่ภาษีที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยยังไม่มีข้อสรุปว่า ควรจะยกเว้นภาษีที่ดินบ้านราคาเท่าไรจึงจะเหมาะสม เบื้องต้น ที่ดินที่มีราคาไม่เกิน 1-2 ล้านบาท ที่ดินราคาไม่เกินตารางวาละ 30,000 บาท ขนาดไม่เกิน 60 ตารางวา หรือราคาประมาณ 1.8 ล้านบาท ที่เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไปของคนชั้นกลางสมควรที่จะได้รับการยกเว้นภาษี  


อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้ปรับลดประมาณการรายได้จากภาษีที่ดินฉบับใหม่ โดยการปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีรายได้เพิ่ม 50,000-100,000 ล้านบาทต่อปี จากปัจจุบันที่จัดเก็บได้ปีละ 20,000 ล้านบาท ขณะที่ ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิม รมว.คลัง ประมาณการว่าจะสามารถ จัดเก็บรายได้ปีละ 200,000 ล้านบาท.


BaanFinder.com เว็บลงประกาศซื้อ ขาย ให้เช่า อสังหาฯ ฟรี

ขอบคุณข้อมูลจาก Thairath.co.th
แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

เที่ยวสยาม 1 วัน ทำอะไรดี? แจก 7 พิกัด กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง

แหล่งรวมผู้คน กิจกรรม ห้างร้าน และความทันสมัยของกรุงเทพฯ ย่านใจกลางเมืองต้องยกให้กับ “สยาม” ไม่ว่าคุ ... Continue Reading...

อยากย้ายไปอยู่เชียงใหม่ ทำเลไหนน่าอยู่ ที่สุด

เชียงใหม่ ถือเป็นจังหวัดที่หลาย ๆ คนหลงรัก และบางคนถึงกับต้องการย้ายจากความวุ่นวายในเมืองกรุงฯ มาสู่ ... Continue Reading...

เตรียมบ้านให้พร้อมและปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาว

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว หรืออาจกลับบ้านไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ที่ต่างจัง ... Continue Reading...

5 ทริคแต่งบ้านสวยด้วยสไตล์รีสอร์ท ให้บรรยากาศร่มรื่นน่าอยู่

ส่วนมากแล้วคนเรา มักจะอยากได้บ้านที่มีความสวยงาม ร่มรื่น เงียบสงบ มีมุมสวย ๆ เอาไว้นั่งทอดน่องในช่วง ... Continue Reading...

6 กลยุทย์การตลาดอสังหาฯ เพื่อเพิ่มยอดขายและมีลูกค้า Walk-in

กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภททั้งบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมากในย ... Continue Reading...